Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5986
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินความเครียด ความเข้มแข็งเกี่ยวกับสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญความเครียด กับการปรับตัวของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย
Other Titles: Relationships between stress appraisal, health-related hardiness, social support, coping, and adaptation of myocardial infarction patients
Authors: รุ่งทิพย์ เบ้าตุ่น
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
ผู้ป่วย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินความเครียด ความเข้มแข็งเกี่ยวกับสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญความเครียดกับการปรับตัวของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 130 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการประเมินความเครียด แบบวัดความเข้มแข็งเกี่ยวกับสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามวิธีการเผชิญความเครียดและแบบวัดการปรับตัว ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความเที่ยงแบบวัดการประเมินความเครียดจำแนกตามรายด้านอันตราย/สูญเสีย คุกคามและท้าทาย เท่ากับ .73, .87, .57 ตามลำดับ แบบสอบถามวิธีการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาและแบบมุ่งปรับอารมณ์ เท่ากับ .72, .82 ตามลำดับ แบบวัดความเข้มแข็งเกี่ยวกับสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบวัดการปรับตัว เท่ากับ .85, .87, และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การปรับตัวโดยรวมของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายอยู่ในระดับดี (X=2.16) 2. การประเมินความเครียดด้านความท้าทายและด้านความคุกคามของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายอยู่ในระดับปานกลาง (X=2.71 และ 2.24 ตามลำดับ) และการประเมินความเครียดด้านอันตราย/สูญเสียอยู่ในระดับต่ำ (X=1.83) 3. ความเข้มแข็งเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายอยู่ในระดับสูง (X=4.94) 4. การสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายอยู่ในระดับสูง (X=5.02) 5. การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาและการเผชิญความเครียดแบบมุ่งปรับอารมณ์ ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายอยู่ในระดับปานกลาง (X=2.49 และ 2.38 ตามลำดับ) 6. การประเมินความเครียดด้านความคุกคาม การประเมินความเครียดด้านอันตราย/สูญเสีย ความเข้มแข็งเกี่ยวกับสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันพยากรณ์การปรับตัวของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 51.20 และสามารถสร้างสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ การปรับตัวของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย = - 0.354 (การประเมินความเครียดด้านความคุกคาม) - 0.234 (การประเมินความเครียดด้านอันตราย/สูญเสีย) + 0.212 (ความเข้มแข็งเกี่ยวกับสุขภาพ) + 0.146 (การสนับสนุนทางสังคม)
Other Abstract: This study is correlation research. The purpose of this study was to investigate the relationships between stress appraisal, health-related hardiness, social support, coping and adaptation of myocardial infarction patients. The subjects were 130 myocardial infarction patients in Rajavithi, Police, Ramathibodi, and Pramongkutklao hospitals selected by a multistage sampling. The instruments used for data collection were the Demographic Data Questionnaire, the Stress Appraisal Scale, the Health-Related Hardiness Scale, the Social Support Questionnaire, the Ways of Coping Questionnaire, and the Adaptation Scale. These instruments were tested for content validity by a panel of experts, and the reliability of harm-loss, threat, and challenge of stress appraisal were .73, .87, and .57, respectively, problem focus and emotional focus of coping were .72 and .82 respectively, the Health-Related Hardiness Scale, the Social Support Questionnaire, and the Adaptation Scale were .85, .87, and .91, respectively. The data were analyzed using Pearson{174}s Product moment Correlation and Stepwise Multiple Regression. The results of this study revealed that 1. Adaptation of myocardial infarction patients was at a good level. (X=2.16) 2. Challenge and threat of stress appraisal of myocardial infarction patients were at a moderate level. (X= 2.71 and 2.24, respectively), and harm-loss of stress appraisal were at a low level. (X=1.83) 3. Health-related hardiness of myocardial infarction patients was at a high level. (X=4.94) 4. Social support of myocardial infarction patients was at a high level. (X=5.02) 5. Problem focus and emotional focus of coping of myocardial infarction patients were at a moderate level. (X=2.49 and 2.38, respectively) 6. Threat and harm-loss of stress appraisal, health-related hardiness, and social support were variables that statistically significant predicted adaptation of myocardial infarction patients at the level of .05. The predicted power was 51.20% of variance. The equation derived from standardize score was: Adaptation of myocardial infarction patients = - 0.354 threat of stress appraisal - 0.234 harm-loss of stress appraisal + 0.212 health-related hardiness + 0.146 social support.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5986
ISBN: 9741734395
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungtip.pdf12.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.