Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5987
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมินภายนอก เพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Factors affecting the utilization of external evaluation results for quality development of basic education institutions
Authors: วราภรณ์ บุญเจียม
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@chula.ac.th
Subjects: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
การจัดการศึกษา -- การประเมิน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การประเมิน
การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพการใช้ผลการประเมินภายนอก เพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมินภายนอก เพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยสถานศึกษาที่ได้รับรายงานการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษาในรอบแรกจำนวน 147 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุวิภาค ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สถานศึกษาใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงแนวคิดอย่างครบถ้วน ใช้ผลการประเมินภายนอก ในเชิงแนวคิดเพียงบางส่วน และไม่ใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงแนวคิด คิดเป็นร้อยละ 70.75, 23.81 และ 5.44 ตามลำดับ สถานศึกษาใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงตรวจสอบยืนยันอย่างครบถ้วน ใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงตรวจสอบยืนยันเพียงบางส่วน และไม่ใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงตรวจสอบยืนยัน คิดเป็นร้อยละ 73.47, 19.73 และ 6.80 ตามลำดับ สถานศึกษาใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงสัญลักษณ์อย่างครบถ้วน ใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงสัญลักษณ์เพียงบางส่วน และไม่ใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงสัญลักษณ์ คิดเป็นร้อยละ 71.43, 22.45 และ 6.12 ตามลำดับ และสถานศึกษาใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงปฏิบัติเพียงบางส่วน ใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงปฏิบัติอย่างครบถ้วน และไม่ใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 54.42, 35.37 และ 10.20 ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมินภายนอก เพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 4 รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 คือ สถานศึกษาที่มีผลการประเมินภายนอกในระดับ ควรปรับปรุง และทัศนคติต่อการประเมินภายนอกของผู้บริหารสถานศึกษา ตามลำดับ นอกจากนี้สถานศึกษาที่มีผลการประเมินภายนอกในระดับพอใช้ มีอิทธิพลต่อการใช้ผลการประเมินภายนอกอย่างครบถ้วนในเชิงแนวคิด ในเชิงตรวจสอบยืนยัน และในเชิงสัญลักษณ์เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น และทักษะการสื่อสารของผู้ประเมินภายนอก มีอิทธิพลต่อการใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงปฏิบัติอย่างครบถ้วนเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น โมเดลการถดถอยโลจิสติกพหุวิภาค การใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงตรวจสอบยืนยัน การใช้ผล การประเมินภายนอกในเชิงสัญลักษณ์ การใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงแนวคิด และการใช้ผลการประเมินภายนอกในเชิงปฏิบัติ สามารถจำแนกกลุ่มสถานศึกษาที่ใช้ผลการประเมินภายนอกได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80.27, 79.59, 75.51 และ 72.79 ตามลำดับ
Other Abstract: To study state of external evaluation results for quality development of basic education institutions and to study the factors affecting the utilization of external evaluation results for quality development of basic education institutions. The data were collected through questionnaires. The research sample were consisted of 147 schools which received the report of the first external quality evaluation from The Office for National Education Standards and Quality Assessment. The data were analyzed via descriptive statistics and polytomous logistic regression. The major finding were as follows 1) The schools which conceptually utilized external evaluation results completely, partially and did not utilized external evaluation results were 70.75%, 23.81% and 5.44% respectively. The schools which legitimate utilized external evaluation results completely, partially and did not utilized external evaluation results were 73.47%, 19.73% and 6.80% respectively. The schools which symbolically utilized external evaluation results completely, partially and did not utilized external evaluation results were 71.43%, 22.45% and 6.12% respectively. The schools which instrumental utilized external evaluation results partially, completely and did not utilized external evaluation results were 54.42%, 35.37% and 10.20% respectively. 2) Factors that had significant affect on the utilization of external evaluation results for quality development of basic education institutions at .01 and .05 level were the schools which had external evaluation results in reform level and attitude for external evaluation of principal respectively. Furthermore the schools which had external evaluation results in fair level had influence on completely conceptually use, legitimate use and symbolically use, and communication skills of external evaluators had influence on completely instrumental use. Legitimate use model, symbolic use model, conceptual use model and instrumental use model could predict the utilization of external evaluation results for 80.27%, 79.59%, 75.51% and 72.79% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5987
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.414
ISBN: 9741757298
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.414
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.