Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59981
Title: ปัญหาการใช้กระเบื้องหลังคาดินเผาในงานสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษา อาคารในพุทธมณฑล
Other Titles: PROBLEMS OF CLAY ROOF TILES IN THAI ARCHITECTURE : CASE STUDY OF BUDDHAMONTHON BUILDINGS
Authors: นิติมา คุตตะสิงคี
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bundit.C@Chula.ac.th,uan1950@hotmail.com,bunditchulasai@yahoo.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษา การใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคาในงานสถาปัตยกรรมไทยและปัญหาที่เกิดขึ้น โดยอาศัยอาคารในพุทธมณฑล ที่มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา เป็นกรณีศึกษา จากการสำรวจอาคารทั้งหมด 44 หลัง พบผังหลังคาทั้งหมด 13 รูปแบบ ตัวหลังคาจั่ว มีความลาดชัน 45, 55 และ 60 องศา ส่วนหลังคาปีกนก มีความลาดชัน 20, 25, 30, 35 และ 45 องศา โครงสร้างหลังคามีทั้งคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็ก และไม้ ส่วนแประแนงจะเป็นไม้ทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหางมนชนิดเผาธรรมดา หรือชนิดเผาไฟสูง โดยการมุงกระเบื้องตัวสั้นซ้อนทับกระเบื้องตัวยาว มีการปั้นปูนปิดครอบรอยต่อหลังคา โดยมีรางน้ำทำด้วยสังกะสี และมีการทำแผ่นรองใต้หลังคา (Sub roof) ด้วยสังกะสี หรือ คอนกรีตเสริมเหล็ก ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปูนปั้นบริเวณสันหลังคาและตะเข้สันแตก แปผุ กระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด กระเบื้องสีซีดหรือสีหลุดร่อน มีเศษฝุ่นหรือใบไม้สะสมบนหลังคา มีวัชพืชขึ้นตามเชิงชายและในตะเข้ราง รวมทั้งรอยคราบน้ำบนฝ้าเพดานภายในอาคารที่มาจากการรั่วซึม ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ ปูนปั้นหรือกระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด น้ำจะรั่วซึมลงมาเวลาฝนตก ทำให้แประแนงไม้ผุ กระเบื้องหลังคาจะแตกหรือหลุดเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับรากของวัชพืชจะทำให้กระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด ในขณะที่เศษฝุ่นหรือใบไม้ที่สะสมทำให้น้ำล้นรางเข้าในอาคาร แนวทางการแก้ปัญหา คือการเลือกวัสดุที่เหมาะสม โดยคงรูปแบบ ลักษณะ และการใช้งานเดิม วัสดุใหม่ที่ใช้ควรมีความแข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานนาน รวมทั้งมีน้ำหนักน้อยกว่า ซึ่งจะช่วยลดภาระการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาและอาคาร จึงเสนอให้ใช้กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ ครอบหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ แปเหล็กชุบกัลวาไนซ์ รางน้ำสเตนเลส ฯลฯ ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นประจำไม่ให้มีวัชพืช เศษฝุ่น และใบไม้สะสม
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the use of clay roof tiles in Thai Architecture and their complications by using Buildings in Buddhamonthon as case study. From the survey of 44 buildings, 13 types of roof have been founded. Generally, the main roof has slopes at 45, 55 and 60 degrees while the additional eaves has slopes at 20, 25, 30, 35 and 45 degrees, respectively. Structures of the roof are made of reinforce concrete, steel and wood. Purlin is solely made of wood whilst the roof is covered with a-round-tail clay roof tiles burnt at either normal or high temperature. The method of roofing is to put the short one above the long one and a roof ridge has to be covered with molded lime. There are also gutters made of zinc where the two eves meet at the corner and a sub roof made of either zinc or reinforce concrete. Problems are; molded lime crack at the ridge and gutter area, rotten purlin, the broken or falling of roof tiles, the dullness or disintegration of roof color and dust or leaves or weed growth on eave and gutter, including water stain on ceiling due to roof leakage. Solution to above problems is to choose new proper material to replace traditional clay roof tile. Choosing new material can be possibly done by keeping the form, character, and origin of use. New type of material should be robust, durable and last. The weight of new material should be less as it helps reducing the size of roof and building structure. In this case, fiber cement is the right example of material of choice which can be used for roof tile and roof ridge. Other materials also can be used in other parts such as galvanized steel for purlin, stainless steel for gutter and so on. In addition, maintenance is also necessary. Consistent cleaning of roof helps eliminating weeds, dust and leaves.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59981
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1509
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1509
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773565325.pdf25.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.