Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60018
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศศิลักษณ์ ขยันกิจ-
dc.contributor.authorกมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:04:58Z-
dc.date.available2018-09-14T06:04:58Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60018-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาบทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใน 3 ประเด็น คือ 1) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ 2) การทำงานร่วมกันของครู และ3) การส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ปกครอง ตัวอย่าง ได้แก่ ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 สังกัด ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ พบว่า ด้านการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการมาโรงเรียน ครูจัดกิจกรรมแก่เด็กเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับครูและโรงเรียน และปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเด็กในปีการศึกษานั้น คิดเป็นร้อยละ 49.3 เท่ากัน ครูจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนให้มีพื้นที่มุมหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 76.3 และปรับห้องเรียนตามลักษณะของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 70.6 ส่วนด้านการส่งเสริมการปรับตัว ครูส่งเสริมพัฒนาการด้านการพึ่งพาตนเอง เรื่องการดูแลความสะอาดของร่างกายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.5 ซึ่งสูงกว่าพัฒนาการด้านอื่น ๆ และใช้สื่อประเภทนิทานเพื่อพัฒนาเด็กมากกว่าวิธีอื่น 2) การทำงานร่วมกันของครู พบว่า ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล ครูแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการใช้แบบฝึกหัดใบงานและใบความรู้ คิดเป็นร้อยละ 23.5 และพัฒนาการทุกด้านของเด็ก คิดเป็นร้อยละ 37.1 ส่วนด้านการวางแผนการทำงาน ครูใช้การประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นร้อยละ 26.2 พัฒนาหลักสูตรรอยเชื่อมต่อโดยร่วมกันกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลเด็ก คิดเป็นร้อยละ 16.2 และประเมินผลของการทำงานโดยคำนึงถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 11 3) การส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ปกครอง พบว่า ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ใช้การสื่อสารกับผู้ปกครองผ่านการโทรศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 72.7 ครูแลกเปลี่ยนข้อมูลพฤติกรรมที่ต้องการความเอาใจใส่ คิดเป็นร้อยละ 78.3 ส่วนด้านการสร้างความเป็นหุ้นส่วน ครูสื่อสารกับผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการตามวัย คิดเป็นร้อยละ 65 และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ของเด็ก โดยการเป็นผู้ช่วยสอนการบ้านเด็ก คิดเป็นร้อยละ 68-
dc.description.abstractalternativeThis propose of this research was to study teacher roles in building transition for children entering first grade in 3 areas: 1) promoting development and learning, 2) teachers collaborating and 3) promoting cooperation with parents. Samples were 337 first grade teachers from 4 Bangkok affiliating organizations: Office of Basic Education Commission, Office of the Private Education Commission, Bangkok Education Office and Office of the Higher Education Commission. Research tools including questionnaires and interview form. Data were analyzed by using frequency, percentage and content analysis. The research findings were as follows: 1) Promoting development and learning: in the aspect of creating positive attitude toward school, the number of teachers organized activity to accustom children with teachers and schools, and the number of teacher modified lesson plans according to the children in each school year were 49.3 percent equally. Teachers provided a book corner was 76.3 percent and adjusted environment according to the classroom activities was 70.6 percent. In the aspect of promoting adjustment, teachers promoted self-help skill in the area of personal hygiene mostly which was 93.5 percent. They often used storytelling as technique to promote children's development. 2) Teachers collaborating: In the aspect of information exchange, teachers were exchanged information about exercises and work sheets at 23.5 percent, and sharing children learning and development at 37.1 percent. In the aspect of planning, teachers held plan meetings at 26.2 percent. Developed transition curriculum by mutually setting up assessment methods at 16.2 percent. And, evaluated the working process focusing on children development and progression was at 11 percent. 3) Promoting cooperation with parents: in the aspect of building positive relationship, the number of teachers building a good relationship with parents using telephone was 72.7 percent, and shared information of concerned behavior was at 78.3 percent. In the aspect developing partnership, teachers informed parents about child development was at 65 percent, and gave parents’ opportunity to be involved with their children's learning such as helping with homework was at 68 percent.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.774-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleบทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-
dc.title.alternativeTEACHER ROLES IN BUILDING TRANSITION FOR CHILDREN ENTERING FIRST GRADE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSasilak.K@Chula.ac.th,preawja@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.774-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783302227.pdf7.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.