Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60034
Title: การสื่อสารอัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่
Other Titles: COMMUNICATING IDENTITY AND SOCIAL ROLES OF SHAN OPERA
Authors: ปรีดาพร ศรีเมือง
Advisors: เจษฎา ศาลาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jessada.Sa@Chula.ac.th,Jessada.Sa@Chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการแสดงลิเกไทใหญ่ อัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของการแสดงลิเกไทใหญ่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงลิเกไทใหญ่ จำนวน 20 คน กลุ่มผู้ชม จำนวน 50 คน นักวิชาการไทใหญ่ จำนวน 2 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2558 – มีนาคม 2560 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) และการบันทึกข้อมูลการแสดงสดของลิเกไทใหญ่ (ทั้งในประเทศไทยและรัฐฉานประเทศพม่า) จำนวน 12 ครั้ง รวมทั้งจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบในการแสดงลิเกไทใหญ่มีทั้งหมด 12 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นตอนการแสดง 2) เครื่องดนตรีและเพลง 3) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงและการแสดง 4) สถานที่ฉากและเวที 5) ช่วงเวลา/โอกาสของการแสดง 6) เครื่องแต่งกาย 7) ความรู้เกี่ยวกับลิเกไทใหญ่ 8) ข้อห้ามและความเชื่อ 9) การร้องโดยใช้ภาษาถิ่นไทใหญ่ 10) การไหว้ครู 11) ความเชื่อเรื่องเทพสรัสวดี 12) ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง 2. อัตลักษณ์ของการแสดงลิเกไทใหญ่ มีทั้งหมด 6 อัตลักษณ์ คือ1) อัตลักษณ์ด้านบทเพลง 2) ด้านภาษา 3) ด้านสุนทรีย์ 4) ด้านการแต่งกาย 5) ด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน และ 6) ด้านความเป็นชนกลุ่มน้อยที่รักประเทศชาติ 3. บทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่ พบว่า มี 12 ประการบทบาท คือ 1) บทบาทในการพัฒนาตัวเอง 2) การยกระดับสถานภาพบุคคลในสังคม 3) การเป็นสื่อในการเห็นตนเองและผู้อื่น 4) การสร้างความทรงจำร่วมกัน 5) การสร้างความสามัคคี 6) การให้ความบันเทิง 7) การให้ข้อมูลข่าวสาร 8) การอบรมสั่งสอน 9) การเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม 10) การสะท้อนตัวตนและอัตลักษณ์ท้องถิ่น 11) การรณรงค์ และ 12) การเป็นพื้นที่ยึดโยงสื่อพื้นบ้านอื่นๆ
Other Abstract: This qualitative research aimed to study the components, identities and social roles of Shan Opera. Participants were 72 people, including the persons who associated with Shan Opera (n=20), the audiences of Shan Opera (n=50) and the Shan scholars (n=2). Data were collected during October 2015 – March 2017 by in-depth interviews, via 12 Live Shan Opera shows, in Thailand and Myanmar (Shan state), and also via related documents. Data were analyzed by content analysis. The findings revealed that : 1. there were 12 components of Shan Opera covering: 1) process of the show 2) musical instruments and melodies 3) people who involved with the show 4) placement, backdrop and stage 5) Showtime and show opportunities 6) clothes 7) knowledge of Shan Opera 8) prohibitions and superstitions 9) sing in Shan language 10) respect for teachers /masters 11) trust of Goddesses (called Surussavadee) 12) relations between men and women. 2. there were 6 identities of Shan Opera, including: 1) identity of songs 2) identity of local language 3) identity of entertainment 4) identity of Shan costume 5) identity of Local literature and 6) identity of minority nationalism. 3. there were 12 social roles of Shan Opera: 1) role in self-formation 2) role in upgrading individual’s status in society 3) role in self-reflection 4) role in creating memories together 5) role in building up harmonization 6) role in entertaining 7) role in transmitting knowledge 8) role in teaching people to be a good person 9) role in playing as a Cultural Learning Center 10) role in reflecting individual and local identity 11) role in creating campaign and 12) role in connecting with other folk media. .
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60034
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.912
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.912
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784666928.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.