Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60062
Title: การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล
Other Titles: BRIQUETTE FUEL PRODUCTION FROM WASTEWATER SLUDGE OF BEER INDUSTRY AND BIODIESEL PRODUCTION WASTES
Authors: ปริญญ์รัฐ หนูสงค์
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.Pua@Chula.ac.th,fiespj@eng.chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขในกระบวนการคาร์บอไนซ์และสัดส่วนผสมในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากการผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ กากดินฟอกสีและกลีเซอรอลดิบ ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน (1) ศึกษาเงื่อนไขในการคาร์บอไนซ์กากตะกอนบำบัดน้ำเสียที่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนคงตัวในระดับสูงด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล โดยมีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อุณหภูมิและเวลาในการคาร์บอไนซ์ระหว่าง 100 ถึง 700 องศาเซลเซียส และเวลา 10 ถึง 120 นาที ตามลำดับ (2) ศึกษาเงื่อนไขของสัดส่วนผสมระหว่างกากตะกอนบำบัดน้ำเสีย กากดินฟอกสี และกลีเซอรอลดิบที่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนคงตัวและค่าความร้อนในระดับสูงด้วยวิธีการออกแบบการทดลองแบบผสม (3) คำนวณผลิตภาพด้านพลังงานของเชื้อเพลิงอัดแท่ง จากการวิจัยพบว่า (1) เงื่อนไขที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์กากตะกอนบำบัดน้ำเสีย คือ อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที โดยเงื่อนไขดังกล่าวมีปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงสุดร้อยละ 10.01 ± 0.30 โดยน้ำหนัก (2) เงื่อนไขที่เหมาะสมของสัดส่วนผสมระหว่างกากตะกอนบำบัดน้ำเสียร่วมกับกากดินฟอกสี โดยมีกลีเซอรอลดิบเป็นตัวเชื่อมประสานที่ร้อยละ 30 ของของผสม พบว่าอัตราส่วนกากตะกอนบำบัดน้ำเสียร้อยละ 95 ต่อกากดินฟอกสีร้อยละ 5 ให้ปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงสุดร้อยละ 3.05 ± 0.05 โดยน้ำหนัก และค่าความร้อนสูงสุด 3,548.10 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม (3) ผลิตภาพด้านพลังงานหรือสัดส่วนของค่าพลังงานของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้ต่อค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตมีค่าสูงสุดเท่ากับ 11.29
Other Abstract: The objective of this research was to study the optimum condition for fuel briquettes produced from wastewater sludge of the beer industry and biodiesel production wastes (bleaching earth and crude glycerol). This research was divided into three parts. Part I studied the effects of carbonization of brewery wastewater sludge for high fixed carbon using full factorial design. The independent factors were the temperature and time. Part II studied the ratio between brewery wastewater sludge, bleaching earth and crude glycerol for its high fixed carbon and high heating value using mixture design. Part III studied the energy productivity. The results showed that (1) the maximum fixed carbon of 10.01 ± 0.30 % by weight was obtained at a temperature of 350 oC for 30 minutes. (2) The appropriate ratio of brewery wastewater sludge and bleaching earth by weight was 95:5. Note that the type of briquetting process carried out here was a cold process using crude glycerol (30% by weight of the mixture) as the binder. This condition provided the highest fixed carbon and heating value of approximately 3.97 ± 0.16 % by weight and 3,548.10 kcal/kg, respectively. (3) The energy productivity (energy gained - energy used ratio) provided the highest energy productivity of approximately 11.29.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60062
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1432
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1432
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870348021.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.