Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60088
Title: ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าที่มีต่อความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นในกีฬาวอลเลย์บอล
Other Titles: EFFECTS OF SUPPLEMENTED EYE-FOOT COORDINATION TRAININGON SPEED OF MOVEMENT TOWARD JUMPING BLOCK POSITION IN VOLLEYBALL
Authors: ธนาวรรณ นุ่นจันทร์
Advisors: เบญจพล เบญจพลากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Benjapol.B@Chula.ac.th,Benjapon1978@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าที่มีต่อ ความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นในนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงระดับเยาวชน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง สังกัดโรงเรียน บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดับเยาวชน (อายุ15.30 ± 1.12 ; น้ำหนัก 60.53 ± 7.51 กก.; และส่วนสูง 171.13 ± 5.50 ซม.) กำหนดกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (15 คน) ทำการฝึกตามโปร แกรมการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลตามปกติในแต่ละวันเพียงอย่างเดียว และกลุ่มทดลอง (15คน) ทำการฝึกวอล เลย์บอลตามปกติและได้รับการฝึกเสริมการประสานงานของตาและเท้า สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตัวแปรของความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้น อันได้แก่ เวลาปฏิกิริยา (Reaction time) เวลาเคลื่อนที่ (Movement time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ถูกบันทึกทั้งในการทดสอบก่อน และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical package for the social science) เพื่อหาค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบสมมติฐาน โดยการหาค่าที (t-test) ระหว่างกลุ่ม และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ (Paired sample t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย หลังจากการทดลองสัปดาห์ที่ 8 พบว่า เวลาปฏิกิริยา (Reaction time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ของกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของเวลาเคลื่อนไหว (Movement time) ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าอาจเป็นประโยชน์ในการที่จะพัฒนาเวลาปฏิกิริยา (Reaction time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นของนักกีฬาวอลเลย์บอลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The purpose of this study was to examine effects of supplemented eye – foot coordination training on speed of movement toward jumping block positions in volleyball Methods. 30 young female volleyball players from Bodindecha (Sing Singhaseni) School (15.30 ± 1.12 years old; 60.53 ± 7.51 kg weight; and 171.13 ± 5.50 cm height) were equally divided into control group (15) practicing regular volleyball training program, and experimental group (15) practicing 3-day-per-week eye-foot coordination training program in addition to regular volleyball training. Both groups were trained with the assigned programs for 8 weeks continuously. Velocity profiles of movement toward jumping block positions including reaction time (RT), movement time (MT), and response time (RPT) were recorded in both pre-and-post experiments and reported as means (x̄) and standard deviations (SD). Paired sample t-test was applied to compare the velocity profile before and after treatments, while independent t-test was applied for between-group comparison. Alpha level was set at p = 0.05. Results. Statistical differences were found between the control group and the experimental group for post-test RT and RPT (*p<0.05) Furthermore, the experimental group showed greater decrease in RT and RPT than the control group (*p<0.05). But not for MT. Conclusions. Eye – foot coordination program might provide benefits in improving reaction time and response time toward jumping block position in volleyball.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60088
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1223
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1223
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878309039.pdf11.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.