Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60106
Title: | แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 |
Other Titles: | INSTRUCTIONAL GUIDELINES IN CONGRUENCE WITH FACTORS OF MATHEMATICALCOMMUNICATION ABILITY OF SIXTH GRADE STUDENTS |
Authors: | ภรทิพย์ ภาคภูมิ |
Advisors: | ชาริณี ตรีวรัญญู |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Charinee.T@Chula.ac.th,charinee.t@hotmail.com |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างที่ใช้ในการทำแบบวัด ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 180 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้การสัมภาษณ์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้การสัมภาษณ์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรม SPSS เพื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้โปรแกรม M-Plus เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 มี 3 องค์ประกอบ และมี 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1.1) การใช้ภาษาและคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ และ 1.2) การใช้สัญลักษณ์ (เครื่องหมาย) ทางคณิตศาสตร์ องค์ประกอบที่ 2 การแสดงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 2.1) การตีความ แปลความ และวิเคราะห์ความหมายจากโจทย์หรือสถานการณ์ที่กำหนดให้ 2.2) การอธิบายวิธีคิด หรือวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ และ 2.3) การสรุปคำตอบที่ได้จากการแก้ปัญหา และองค์ประกอบที่ 3 ความชัดเจนในการนำเสนอมี 1 ตัวชี้วัดคือ การเขียนอธิบายวิธีคิดเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตรงกัน ผลการตรวจสอบโมเดลองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-Square = 9.57, df = 5, p = 0.09, CFI = 0.99 และ SRMR = 0.02 และพบว่าองค์ประกอบด้านการใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ เป็นองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอน มีดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรเน้นการสาธิตหรือแสดงให้ดูเป็นตัวอย่างถึงการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องชัดเจน สอดแทรกกิจกรรมการเขียนทางคณิตศาสตร์ที่เอื้อให้นักเรียนได้ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการนำเสนอและแสดงแนวคิด สอดแทรกการอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของตนเอง รวมทั้งใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ควรจัดโต๊ะเรียนเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มย่อยเพื่อให้นักเรียนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และจัดบรรยากาศในการเรียนรู้ที่เหมาะสมโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ในขณะเดียวกันครูต้องให้ความสำคัญกับการรับฟังคำตอบหรือแนวคิดของนักเรียนด้วย 3) การใช้สื่อการเรียนรู้ ควรเป็นสื่อที่เป็นรูปธรรม เข้าใจง่าย ใกล้ตัวนักเรียน และสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังสอน และ 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรประเมินผ่านการพูดและการเขียนด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เน้นการประเมินเพื่อพัฒนามากกว่าการประเมินเพื่อตัดสิน |
Other Abstract: | The purposes of this research were to (1) investigate the factors of mathematical communication ability of sixth grade students; and (2) purpose instructional guidelines in congruence with factors of mathematical communication ability of sixth grade students. The sample consisted of 180 sixth grade students of the Bangkok Primary Educational Service Area Office. The target groups of interview for investigating the factors were 5 mathematic teachers and for purposing instructional guidelines were 5 mathematic specialists. The research instruments were mathematical communication ability test and in-depth interview. Arithmetic mean, Standard deviation and Pearson Product Moment Correlation data was analyzed using SPSS statistics software. M-Plus program was used for confirmatory factor analysis (CFA). Content analysis method was used for qualitative analysis. Research finding were as follows: 1) The mathematical communication ability of sixth grade students has 3 factors and 6 indicators which are Factor 1: Using the language of mathematics which consisted of 2 indicators which are 1.1) using the language and vocabulary of mathematics; and 1.2) using the symbols of mathematics, Factor 2: Mathematics Representation which consisted of 3 indicators which are 2.1) Interpretation and data analysis form assigned problems; 2.2) Describing the idea or problem solving method by using mathematic principles and knowledge; and 2.3) Summarize the answers obtained from solutions, and Factor 3: Clarity of presentation has 1 indicators; writing their mathematical thinking clearly to others. Mathematical communication abilities model was valid and fit the empirical data as Chi-Square = 9.57, df = 5, p = 0.09, CFI = 0.99 and SRMR. = 0.02 and found that using the Language of Mathematics was the most important factor of mathematical communication ability. 2) The instructional guidelines were (1) Learning Activities: Teachers should focus on demonstration or showing examples of clear mathematical communication, using mathematical writing activities to encourage students to use mathematical language and symbols for representation and expressing their opinion, and using cooperative learning techniques; (2) Learning Environment: Having the students sit in pairs or small groups seating arrangement and creating a positive classroom atmosphere to encourage students sharing their opinion and communicating to others. Meanwhile, teachers must pay attention on students’ answers and ideas; (3) Learning Tools: should be concrete, understandable, related to student's life and the lessons; and (4) Measurement and Evaluation of learning: Assessing through speech and writing by using in a variety methods and tools. It focused on assessment for development rather than for judgment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60106 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1594 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1594 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5883429427.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.