Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60108
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง | - |
dc.contributor.author | ธนบดี อินหาดกรวด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T06:07:16Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T06:07:16Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60108 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสี่ระดับวิชาชีววิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสี่ระดับวิชาชีววิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 62 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและสี่ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการคิดออกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบสอบวินิจฉัยทั้งสองฉบับพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r มีค่า 0.723) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นพบว่า แบบสอบทั้งสองฉบับมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r มีค่า 0.841) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า แบบสอบทั้งสองฉบับมุ่งวัดคุณลักษณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์พบว่า ในรายมโนทัศน์หลักมีความสอดคล้องในระดับต่ำถึงปานกลาง (V มีค่าระหว่าง 0.322 ถึง 0.489) เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีความสอดคล้องในระดับปานกลาง (V มีค่า 0.536) แสดงว่า แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบทั้งสองฉบับให้ผลการวินิจฉัยที่แตกต่างกันในระดับปานกลาง 2) ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยทั้งสองฉบับกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า เมื่อพิจารณาเป็นรายมโนทัศน์และในภาพรวมทั้งฉบับแล้วแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและสี่ระดับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคการคิดออกเสียงไม่แตกต่างกัน | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were 1) to compare diagnostic results between three-tier and four-tier diagnostic tests in biology for secondary school students and 2) to analyze the congruence among diagnostic results from three-tier, four-tier diagnostic tests and think aloud interview. The participants were 62 upper secondary students of 2017 academic year. The instruments used in this research were 1) Three-tier and four-tier diagnostic tests, and 2) think aloud interview. The data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s correlation, Cronbach’s alpha coefficient and Cramer’s V correlation coefficient. The research findings were as follows: 1) The results of study showed both high correlation level of Pearson correlation coefficient (r = 0.723) and intraclass correlation (r = 0.841) between three-tier and four-tier diagnostic tests statistical significant at .01 level. It showed that both of diagnostic tests could measure in same attribute of students. Correlation of diagnostic results between three-tier and four-tier diagnostic tests were not only average correlation level in major concepts (Cramer’s V range 0.322 to 0.489), but also overview diagnostic results (Cramer’s V = 0.536). 2) Correlation between diagnostic result of four-tier diagnostic test and think aloud interview was not different to those of three-tier diagnostic test and think aloud interview. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.724 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ | - |
dc.title.alternative | A COMPARISION OF MISCONCEPTIONS DIAGNOSTIC RESULTS BETWEEN TREE-TIER AND FOUR-TIER DIAGNOSTIC TESTS IN BIOLOGY FOR SECONDARY STUDENTS | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Nuttaporn.L@Chula.ac.th,Nuttaporn.L@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.724 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5883822327.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.