Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60137
Title: พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้งคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปที่เสริมด้วยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค
Other Titles: SHEAR BEHAVIOUR OF PRECAST PRESTRESSED CONCRETE DRY JOINTSWITH ELASTOMERIC PADS
Authors: วริศร์ ศิริโสม
Advisors: วัฒนชัย สมิทธากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Watanachai.S@chula.ac.th,Watanachai.S@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประยุกต์ใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในงานก่อสร้างประเภทช่วงยาวให้ผลที่ดีมาก ทั้งในด้านความประหยัด คุณภาพงานที่สูง การก่อสร้างที่รวดเร็วและผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อย ในอดีตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปแต่ละชิ้นจะเชื่อมต่อกันโดยอาศัยอีพ็อกซีเป็นตัวเชื่อมประสาน แต่การใช้อีพ็อกซีจะทำให้การก่อสร้างเสียเวลามาก ต่อมาจึงได้มีการใช้งานรอยต่อแบบแห้งขึ้น ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม รอยต่อแบบแห้งก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน นั่นคือผิวสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นหรือบริเวณสลักรับแรงเฉือนไม่สามารถต่อเข้ากันได้อย่างแนบสนิทพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอยต่อประเภทหลายสลัก ส่งผลให้รอยต่อไม่สามารถรับแรงเฉือนได้อย่างเต็มที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกำลังรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้ง โดยอาศัยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค และได้ทำการทดสอบชิ้นส่วนตัวอย่าง เปรียบเทียบกับรอยต่อแบบแห้ง ผลการทดสอบเปรียบเทียบกำลังรับแรงเฉือนและพฤติกรรมขณะรับแรงของรอยต่อ การใช้ยางอีลาสโตเมอริคช่วยลดความเข้มข้นของความเค้นและช่วยกระจายแรงได้ดีขึ้นจากพฤติกรรมการวิบัติของสลักรับแรงเฉือนแต่มีกำลังรับแรงเฉือนน้อยกว่ารอยต่อแบบแห้งประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ผลการปรับเปลี่ยนใช้ยางอีลาสโตเมอริค 60IRHD และ 70IRHD รอยต่อมีพฤติกรรมรับแรงคล้ายกัน และตำแหน่งการใส่ยางกับสลักรับแรงเฉือน ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมขณะรับแรงของรอยต่อ
Other Abstract: The use of precast prestressed concrete segments in long span constructions yields many benefits: economy, high quality work, rapid construction and less disturbance to vicinity. In the past, the precast concrete segments were glued together by epoxy. But the use of epoxy resulted in longer construction time. Later, dry joints were introduced which helped to reduce the construction time. However, there exists limitations in using the dry joints. The contact surfaces between segments or shear keys can hardly be perfectly fit together, especially for those with multiple shear keys. Consequently, these dry joints cannot reach their full capacity for shear. This research is an attempt to improve the shear capacity of dry joints by using elastomeric pad. Sample specimens are tested and compared with the ordinary dry joint. Elastomeric pads help in distributing the shear force to all of the shear keys. However, these joints have ultimate shear strengths approximately 30% less than that of dry joint. Exchanging of 60IRHD and 70IRHD elastomeric pads as well as relocating the positions put on the keys do not significantly affect the shear behavior of the joints.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60137
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1334
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1334
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970307421.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.