Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6021
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
Other Titles: Relationships among selected factors and health promoting behaviors of pregnant women with induced hypertension
Authors: นฤมล ภาณุเตชะ
Advisors: สุกัญญา ประจุศิลป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: sukunya.s@chula.ac.th, 79sukunya@usa.net.
Subjects: ความดันเลือดสูงขณะมีครรภ์
การส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับที่ของการตั้งครรภ์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และศึกษาอำนาจการพยากรณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือมีความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท จำนวน 150 คน ในโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .84, .90, .91, .96, และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์อยู่ในระดับดี (Mean = 3.19, S.D. = 0.30) 2. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ประโยชน์ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .702, .489 และ .347 ตามลำดับ) 3. การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบ กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.393) 4. การรับรู่สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้อุปสรรค สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ 51.8% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z[subscript พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ] = .643 Z[subscript การรับรู้สมรรถนะแห่งตน] - .169 Z[subscript การรับรู้อุปสรรค]
Other Abstract: To examine the relationships among perceived self-efficacy, perceived benefits, perceived barriers, social support, and health promoting behaviors of pregnant women with induced hypertension. Study sample consisted of 150 pregnant women with induced hypertension selected by multi-stage random sampling. The instruments for the study were the demographic data questionnaire, the perceived self-efficacy questionnaire, the perceived benefits questionnaire, the perceived barriers questionnaire, the social support questionnaire, and the health promoting behaviors of pregnant women with induced hypertension questionnaire. Content validity for all questionnaires were reviewed by a panel of experts. Internal consistency reliability for the instruments determined by Cronbach's alpha ranged from .84 to .96. Pearson product-moment correlation and stepwise multiple regressions were used for statistical analysis. The results were as follows 1. Mean score of health promoting behaviors of pregnant women with induced hypertension was at the good level. (mean = 3.19, S.D. = 0.30) 2. There were positive statistical correlations between perceived self-efficacy, perceived barriers, social support, and health promoting behaviors of pregnant women with induced hypertension at the level of .05 (r = .702, .489 and .347, respectively) 3. There was a negative statistical correlation between perceived barriers and health promoting behaviors of pregnant women with induced hypertension at the level of .05 (r = -.393) 4. Perceived self-efficacy and perceived barriers significantly predicted health promoting behaviors of pregnant women with induced hypertension at the level of .05. These variables predicted 51.8% of the variance. The equation derived from the standardized score was: Z[subscript Health promoting behaviors] = .643 Z[subscript perceived self-efficacy] - .169 Z[subscript perceived barriers].
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6021
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1470
ISBN: 9741736428
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1470
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumon_Ph.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.