Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอกกมล วรรณเมธี-
dc.contributor.authorธนวิทย์ ถมกระจ่าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:11:17Z-
dc.date.available2018-09-14T06:11:17Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60211-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีแนวคิดที่ประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) เพื่อประเมินปริมาณคาร์บอนกักเก็บของป่าชุมชนบ้านบุตาต้อง ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้ข้อมูลกลุ่มจุดสามมิติ (Point Could) ที่ได้จากการประมวลผลของภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ เพื่อนำมาสร้างแบบจำลองความสูงสิ่งปกคลุมพื้นผิวเชิงเลข (Digital Surface Model : DSM) และแบบจำลองความสูงภูมิประเทศเชิงเลข (Digital Elevation Model :DEM) จากนั้นทำการหาความสูงของต้นไม้โดยการหาค่าต่างระหว่างของแบบจำลองดังกล่าว นอกจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการกำหนดแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 40 × 40 เมตร จำนวน 10 แปลง เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงต้นไม้ เพื่อใช้ในการประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ ในการหามวลชีวภาพเหนือพื้นดินผู้วิจัยใช้สมการแอลโมเมตรี (allometric equations) ประเภทป่าเต็งรัง ผลการวิจัยพบว่าความสูงที่ได้จากข้อมูลอากาศยานไร้คนขับมีความสัมพันธ์กับภาคสนามโดยมีค่า R2 อยู่ที่ 0.715-0.898 และมีความคลาดเคลื่อนของความสูงต้นไม้อยู่ที่ 0.50-0.66 เมตร ปริมาณคาร์บอนทั้งพื้นที่ศึกษามี 1.54 ตัน/ไร่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณคาร์บอนกักเก็บในแปลงตัวอย่างพบว่ามีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ร้อยละ 13-59 ซึ่งความคลาดเคลื่อนดังกล่าวมาจากความคลาดเคลื่อนในการประมาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกจากข้อมูลความสูงต้นไม้ที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับเนื่องจากความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีความชัดเจน จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการหาขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมในการหาปริมาณคาร์บอนกักเก็บพบว่าขนาดพื้นที่มากกว่า 25×25 เมตรมีความเหมาะสมสำหรับกรหาปริมาณคาร์บอนกักเก็บในพื้นที่ศึกษา-
dc.description.abstractalternativeThis study aims to estimate the amount of sequestrated carbon in the community forest at Ban Bu Ta Tong, Nakornratchasima province using Unmanned Aerial Vehicle technique (UVA). This technique obtained height of surface as aerial photographs, which were subsequently converted into point clouds representing the height of trees above the surface, and eventually Digital Surface Model (DSM) and Digital Terrain Model (DEM). Height of individual trees is derived by subtracting DSM and DEM over tree crowns. The researcher also conducted field measurement of Individual tree heights (H) and diameter at the breath height of trees (D) in 10 plots of 40 * 40 meters for accuracy assessment of data obtained by UAV technique. Relations between H and D obtained from field data were formulated and used to estimate biomass and carbon amount of individual trees in the study area through allometric equations of deciduous dipterocarp forest type. The results show that height of trees derived by UAV techniques are strongly correlated to the field data (r2 between 0.715 –0.898). Average errors in tree height range between 0.5-0.66 metres among plots. The amount of carbon storage for all individual trees for the entire forest is about 1.54 tons per rai. The amount of carbon storages in the plots estimated using UAV data is different from those estimated using field data in a range of 13%-59%. These discrepancies can be explained by errors in estimating D given H from UAV since there is no clear relation between H and D in the plots. Estimation of average carbon sequestration over a grid cell of difference sizes shows that the grid cell of larger than 25 x 25 metres is suitable for estimation of carbon sequestration in the study area.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1169-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการประเมินปริมาณคาร์บอนของป่าชุมชน ด้วยเทคนิคอากาศยานไร้คนขับ: กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านบุตาต้อง ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา-
dc.title.alternativeESTIMATION OF CARBON SEQUESTRATION IN COMMUNITY FORESTS USING UAV TECHNIQUE: A CASE STUDY OF BAN BU TA TONG COMMUNITY FORESTS , TAMBON NAKLANG, SUNGNOEN DISTRICTS, NAKHONRATCHASIMA PROVINCE.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorekkamol.v@chula.ac.th,ekkamol.v@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1169-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5980316722.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.