Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60219
Title: การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน
Other Titles: DEVELOPMENT OF ART ACTIVITIES TO PROMOTE THE APPRECIATION VALUES OF SOUTHERN HANDICRAFT IDENTITY FOR YOUTH
Authors: ธีติ พฤกษ์อุดม
Advisors: โสมฉาย บุญญานันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Soamshine.B@Chula.ac.th,soamshine@gmail.com,soamshine@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าเรื่องอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเยาวชนในจังหวัดสงขลาที่มีอายุ 15-25 เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชุด ชุดที่ 1 เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของศิลปหัตถกรรมภาคใต้ และเพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรม BestPractice 2) แบบสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ชุดที่ 2 เครื่องมือวัดคุณภาพของกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชนประกอบด้วย 1) แบบประเมินเรื่องการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 3) แบบประเมินพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ด้วยสถิติ t-test dependent และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ มีการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคใต้ สีสันที่ใช้มีความสดใสเป็นพิเศษเน้นสีที่มีลักษณะตัดกันอย่างชัดเจนและมีการตกแต่งด้วยลวดลาย ที่ได้แรงบันดาลมาจากธรรมชาติในท้องถิ่น 2) ชุดของกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้จำนวน 6 กิจกรรม 1) กิจกรรมเข็มกลัดจากหนังตะลุง 2) กิจกรรมผ้ายกกระดาษ 3) กิจกรรมตกแต่งหม้อสทิงหม้อ4) กิจกรรมสมุดสวยด้วยลายว่าวเบอร์อามัส 5) ตกแต่งแหวนด้วยวิธีการทำเครื่องถมเมืองนคร 6) กิจกรรมด้ามจับปากกาสานย่านลิเภา ใช้เวลาในการปฏิบัติจำนวน 2 ชั่วโมงต่อกิจกรรม 3) ผลจากการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ พบว่าเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน มีระดับการเห็นคุณค่าหลังการทำกิจกรรม (x̄=51.93) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม (x̄= 41.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to analyze the pattern of identity in southern handicraft 2) to develop a series of artistic activities to promote the values of identity in southern handicraft. A sample group was youth aged 15-25 in Songkhla province. The selection method of the sample group was Voluntary Selection. The duration of the experiment took two days. The research instruments consists of 2 sets of instruments. The first set is to collect the information on Southern handicraft value and identities and to develop the art activities, which promote Southern handicraft value and identity appreciation for youth. The first set of research instrument consists of 1) Best Practice activity experts interviews 2) local Southern handicraft experts interviews and 3) the observation report on the activity with good arrangement practice. The second set of research instruments is for assessment of the quality of the art activity developed. The second set consists of 1) Appreciation assessment 2) Paticipant interview form 3) Post-assessment on the satisfaction and 4) Holistic behavioral assessment. The data were analyzed using descriptive statistics. The findings revealed that: 1) Natural materials are available in the southern region. The colors used are particularly bright, contrasting colors are clearly contrasted and decorated with patterns. Inspired by the local nature. 2) A series of activities to promote the appreciation of identities in southern handicraft for youth consists of 6 activities, activities to promote the appreciation of identities in southern handicrafts for youth. The art activities developed consisted of 1) making brooch from Thai Nang Talung 2) Making Pah Yok Meung Na-Korn from paper 3) Making and design patterns on Sa-Ting Moh pottery 4) Making Beramas pattern on notebook 5) Making ring by Na-Korn Niello Wares technique 6) Desing pen pattern by Lygodium. 3) The result of the development of the trial. It was found that after the youth activity, the average value of the identity in the arts and crafts of the south was higher (x̄=51.93) than before the activity (x̄= 41.37) at the statistical significance of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60219
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1490
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1490
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983332227.pdf6.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.