Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60240
Title: การสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org
Other Titles: COMMUNICATION CAMPAIGN VIA CHANGE.ORG
Authors: แก้วเกล้า บรรจง
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th,sparicha@yahoo.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องการสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มุ่งศึกษาใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ลักษณะประเด็นสังคมที่ปรากฏบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org 2) กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org 3) ความผูกพันของพลเมืองเน็ตต่อแบรนด์ Change.org โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยเทคนิคการวิจัย ดังนี้ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis), การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และวิธีการสำรวจจากแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ผลการวิจัยในประเด็นแรกพบว่าลักษณะประเด็นสังคมที่ปรากฏบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเด็นสาธารณะ (Public Issues) และปัญหาระดับบุคคล (Private Troubles) โดยนักรณรงค์ใช้พื้นที่ออนไลน์ Change.org เพื่อสื่อสารใน 5 วัตถุประสงค์ ได้แก่ (1) ให้ข้อมูล (2) อัปเดตข่าวสาร (3) โน้มน้าวให้คล้อยตาม (4) ขอบคุณ และ (5) ประกาศชัยชนะ ซึ่งกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) หน่วยงานในการปกครองของรัฐ (2) องค์กรเอกชน และ (3) องค์กรเพื่อสังคม โดยผลการรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แคมเปญที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน และแคมเปญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ผลการวิจัยในประเด็นที่สองพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มีทั้งหมด 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การทำให้เห็นภาพ หรือจินตทัศน์ (Visualization) (2) การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement) (3) การจัดการข้อมูล (Information Management) และ (4) ความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบัน (Current issues link) และผลการวิจัยในประเด็นสุดท้ายพบว่าลักษณะทางประชากรของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด มีอายุ 26-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ย 20,001 – 30,000 บาท โดยกลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อแบรนด์ Change.org ในด้านความเกี่ยวพัน ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ และด้านการมีอิทธิพลอยู่ในระดับต่ำ สำหรับความผูกพันด้านความใกล้ชิดอยู่ในระดับสูง โดยลักษณะประชากรด้านสถานภาพ และอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อแบรนด์ Change.org ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The research of “Communication campaign via Change.org” aim to study on 3 points, 1) social issues on Change.org online community, 2) communication strategies for creating public participation, 3) netizen engagement toward Change.org online community. This research is a mixed method research. The researcher used 3 methods composing of content analysis, in-depth interview and online questionnaire. The findings show that 1) social issues that promote on change.org online community has 2 sizes are (1) Public Issues (2) Private troubles. Campaigner uses social media for 5 reasons are (1) Informing (2) Updating (3) Persuasion (4) Gratitude and (5) Victory Announcement. There are 3 types of decision maker are (1) Government agencies & state enterprises (2) Private Company and (3) Social organization. Campaign results are divided into 2 types (1) campaigns of public interest (2) campaigns have been changed in policy. The 4 key strategies used for creating public participation are (1) Visualization (2) Stakeholder Engagement (3) Information Management and (4) Current issues link The findings also show that the most of the samples are female aged 26-30 years old, single status, bachelor’s degree, officers, and income between 20,001 – 30,000 THB per month. The hypothesis tests were found that netizen engagement in involvement, interaction and influence are low, but intimacy is high. Netizen’s status, occupation and education differences had significantly different effects on engagement toward Change.org online community.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60240
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.899
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.899
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984654528.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.