Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60587
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราโมทย์ เสริมศีลธรรม-
dc.contributor.authorคุณาพจน์ พูลทัศฐาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-11-21T03:34:44Z-
dc.date.available2018-11-21T03:34:44Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60587-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการควบคุมบริษัทโฆษณาที่มีการลักลอบจัดเก็บพฤติกรรมและประวัติการเข้าเว็บไซต์ของบุคคลซึ่งนาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการขายโฆษณา เนื่องจากประเทศไทยยังขาดกฎหมายเฉพาะในเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่มีผลบังคับใช้ อีกทั้งกฎหมายอื่นที่ผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันอาจจะไม่ครอบคลุมถึงปัญหานี้ ในขณะที่ต่างประเทศนั้น มีการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะดังกล่าวแล้ว จากการศึกษาค้นพบว่าในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในขณะที่กฎหมายอื่นที่ใช้บังคับอยู่นั้นอาจจะไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่บริษัทโฆษณานาข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการขายโฆษณา หากพิจารณาถึงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่มีผลบังคับใช้นั้น พบว่าร่างกฎหมายดังกล่าวอาจจะไม่ได้มาตรฐานตามกฎหมายของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ใช้บังคับอยู่ทั้งในแง่ข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองรวมไปถึงมาตรการการลงโทษหากมีการฝ่าฝืน ดังนั้นจึงควรมีการแก้ไขหรือปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่ผู้วิจัยได้เสนอ 6 ข้อเสนอแนะเพื่อให้มีความสอดคล้องและเป็นไปตามมาตราฐานของสภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา 1. ควรมีการแก้ไขจำกัดความของคำว่า ข้อมูลส่วนบุคคล ให้ครอบคลุมไปจนถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานและให้ข้อมูลพฤติกรรมและประวัติการเข้าเว็บไซต์ และให้ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตให้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล 2. มีมาตรการป้องกันและแจ้งให้ทราบ หากมีการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลภายใน 72 ชั่วโมงเช่นเดียวกับกฎหมายของสหภาพยุโรป 3. ขยายหลักดินแดนของกฎหมายนี้เพื่อให้ครอบคลุมทุกบริษัทที่มีการประมวลข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของบุคคลไทย 4. มีมาตรการป้องกันและลงโทษนอกเหนือจากโทษปรับและโทษจำคุก 5. ใช้หลักของสภาพยุโรปเรื่องการให้ความยินยอม และอธิบายถึงการเก็บข้อมูลควรจะใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ 6. เพิ่มความชัดเจนและตระหนักรู้เรื่องโฆษณาและข้อมูลส่วนบุคคลต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.42-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectการจัดการโฆษณาen_US
dc.titleการขาดมาตรการควบคุมบริษัทโฆษณาที่ลักลอบจัดเก็บพฤติกรรมและประวัติการเข้าเว็บไซต์ของบุคคล เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการขายโฆษณาen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpramote.s@chula.ac.th-
dc.subject.keywordโฆษณาen_US
dc.subject.keywordข้อมูลส่วนบุคคลen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.42-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61573 34.pdf988.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.