Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60588
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภลักษณ์ พินิจภูวดล-
dc.contributor.authorจณัญญา รังสิพราหมณกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-11-21T04:24:22Z-
dc.date.available2018-11-21T04:24:22Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60588-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractจากการศึกษากฎหมายภาษีอากรของประเทศไทยเกี่ยวกับการหักรายจ่ายเงินสำรองของบริษัท ประกันชีวิต พบว่าปัจจุบันสามารถหักรายจ่ายเงินสำรองเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กัน ไว้ก่อนคำนวณกำไร ในอัตราไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ และเงินสำรองเบี้ย ประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร ในอัตราไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวน เบี้ยประกันภัยรับสุทธิ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งอัตราร้อยละต่อเบี้ย ประกันภัยรับสุทธิดังกล่าว ยังไม่สะท้อนถึงความเสี่ยงที่แท้จริง ทาให้การนำส่งรายได้เข้ารัฐยังไม่มี ความเหมาะสมและเป็นธรรม และยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากล ที่เงินสำรองดังกล่าวจะได้จาก การคำนวณโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการรองรับจากสานักงานคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือที่เรียกว่าหลักทางคณิตศาสตร์ประกันภัย สภาพปัญหาที่พบมาจากการที่เงินสำรองเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตในปัจจุบัน มีการ ประเมินมูลค่าที่สูงขึ้น จากปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น แบบประกันชีวิตที่มีจานวนเงินเอาประกันภัยสูง มี ผลประโยชน์สูง เป็นต้น เมื่อศึกษาถึงเงินสำรองเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ เพื่อหาสัดส่วน เงินสำรองต่อเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ พบว่ามีสัดส่วนในอัตราที่สูงกว่าอัตราร้อยละที่สรรพากรอนุญาต ให้หักรายจ่ายทางภาษีอากรค่อนข้างมาก ซึ่งการประเมินมูลค่าเงินสำรองเบี้ยประกันภัยในปัจจุบัน ประเมินมูลค่าด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งการมีเงินสำรองเบี้ยประกันภัยเป็นรายจ่ายตาม ความเป็นจริงสูงกว่าอัตราที่สรรพากรอนุญาตให้หักรายจ่ายได้ ส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัท ประกันชีวิต ในการชำระภาษีเพิ่มเติมในส่วนของเงินสำรองที่เกินจากหลักเกณฑ์ในประมวลรัษฎากร ทาให้บริษัทต้องแบกรับภาระภาษีที่เกินสมควร นอกจากนี้ ส่งผลต่อต้นทุนในการออกและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตบางประเภทสู่ตลาดเพื่อการแข่งขัน เช่น ประกันชีวิตแบบเงินออมระยะสั้น เป็น ต้น ทำให้ประชาชนผู้ลงทุนในการทำประกันชีวิตมีทางเลือกในการลงทุนลดลง ไม่เกิดการกระตุ้นตลาด การประกันชีวิต ทำให้แข่งขันกับธุรกิจอื่นๆ ได้ยาก นอกจากนี้ ทำให้บริษัทมีเม็ดเงินลงทุนลดลง ซึ่ง ด้วยลักษณะของธุรกิจประกันชีวิต เป็นบริษัทที่มีการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในหุ้นทุน เพื่อให้ ได้รับผลตอบแทนตามเป้าหมายและสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้เสนอขายไป และสามารถ จ่ายผลประโยชน์ต่างๆ คืนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันชีวิตได้ จากการที่แนวโน้มของสัดส่วนของเงินสำรองเบี้ยประกันภัยต่อเบี้ยประกันภัยรับสุทธิค่อนข้างสูง จึงได้มีการศึกษาแนวทางการนำหลักทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้ในการคำนวณเงินสำรองเพื่อหัก รายจ่ายในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ใช้ในการบันทึกบัญชีของบริษัท ประกันชีวิต ทาให้บริษัทไม่ต้องรับภาระภาษีที่เกินสมควร จากรายจ่ายส่วนเกินที่ไม่สามารถหักได้ตาม ความเป็นจริง ทำให้การนำส่งรายได้เข้าสู่ภาครัฐมีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องด้วย หลักคณิตศาสตร์ประกันภัยสามารถนำมาซึ่งมูลค่าที่ใกล้เคียงกับความเสี่ยงที่แท้จริง และสามารถ แก้ปัญหาในหลายๆ ด้าน ที่กระทบต่อธุรกิจประกันชีวิต นอกจากนี้ เมื่อมีการศึกษากฎหมายภาษี อากรของต่างประเทศ คือประเทศออสเตรเลียและประเทศสิงคโปร์ พบว่ามีการระบุหลักเกณฑ์การ ประเมินมูลค่าไว้อย่างชัดเจน โดยมีการนำหลักทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้ในการประเมินมูลค่า หนี้สินตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มาประเมินมูลค่า ต้องได้รับการรองรับ จากหน่วยงานกำกับดูแล ดังนั้น หากประเทศไทยสามารถใช้เงินสำรองเบี้ยประกันภัยจากหลักทาง คณิตศาสตร์ประกันภัยมาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากรได้เหมือนในต่างประเทศ จะสามารถลดความ เสี่ยงที่บริษัทได้รับ ลดข้อจำกัดในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทาให้ประชาชนมีทางเลือกในการออมและ การลงทุนในการประกันชีวิตหลายรูปแบบ เป็นการกระตุ้นการออมการลงทุน และทำให้บริษัทนำเม็ด เงินจากการที่ไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มเติมมาลงทุนตามเป้าหมายของบริษัทที่ต้องนำเงินมาจ่าย ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญา ซึ่งการลงทุนที่มีปริมาณค่อนข้างมากของบริษัท ประกันชีวิตนั้น ทำให้ตลาดการลงทุนในประเทศไทยเจริญเติบโตมากขึ้น จากหลักเกณฑ์การหักรายจ่ายเงินสำรองเบี้ยประกันภัยจากอัตราร้อยละต่อเบี้ยประกันภัยรับ สุทธินั้น เป็นอัตราที่ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว และไม่เพียงพอกับสภาวะในปัจจุบัน ดังนั้น หากให้บริษัท ประกันชีวิตสามารถใช้มูลค่าเงินสำรองที่มาจากหลักทางคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นรายจ่ายทางภาษี อากรได้ ซึ่งเป็นมูลค่าแบบเดียวกับที่รายงานทางบัญชี หรือรายงานการดำรงเงินกองทุนตามระดับ ความเสี่ยงที่ส่งต่อ สานักงาน คปภ. ทาให้มูลค่าหนี้สินเงินสารองและเงินสารองเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เป็น รายจ่ายของบริษัทมีความเหมาะสม เป็นธรรม และมีความเสมอภาคมากกว่าการใช้มูลค่าร้อยละต่อ เบี้ยประกันภัยรับสุทธิ โดยการนำหลักทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้ ต้องคำนึงถึงหลักการที่ถูกต้อง และต้องมาจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการรองรับและตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.35-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารความเสี่ยงen_US
dc.subjectประกันชีวิต--กรมธรรม์en_US
dc.titleปัญหาการไม่นำหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้ในการคำนวณเงินสำรองเพื่อหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิตen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSupalak.P@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordประกันชีวิตen_US
dc.subject.keywordเบี้ยประกันภัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.35-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61580 34.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.