Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60591
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorชนิกานต์ เปรมจิตประพันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-11-21T07:01:02Z-
dc.date.available2018-11-21T07:01:02Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60591-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีนโยบายดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในรูปของการลงทุนในประเทศ และด้วยนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Economy) ทำให้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราไม่เกินร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี และการหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุน (ITA) อย่างไรก็ตามการที่ประเทศไทยส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นภาวะทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยก็มีภาระที่ต้องแบกรับต้นทุนจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวเช่นกัน ประการสำคัญ ปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการลงทุน นักลงทุนต่างชาติไม่ได้พิจารณาปัจจัยด้านภาษีเงินได้เพียงปัจจัยเดียว หากแต่ขึ้นกับหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยจากธนาคารโลก ระบุว่า การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้วในประเทศพัฒนาแล้วส่วนประเทศกำลังพัฒนากำลังทยอยยกเลิกมาตรการดังกล่าว ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษามาตรการภาษีในประเทศไทยเพื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของประเทศมาเลเซียและประเทศญี่ปุ่นเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและนำมาปรับใช้กับมาตรการภาษีของประเทศไทย จากการศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายของทั้ง 3 ประเทศ พบว่า มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีอากรเป็นจำนวนที่มากกว่ามาตรการ ITA เนื่องจาก มาตรการ ITA จะให้สิทธินำเงินที่ใช้ไปในการลงทุนมาหักเพียงไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินลงทุนนั้น คือ อย่างน้อยที่สุดเงินได้จำนวนร้อยละ 30 ยังคงต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติ ซึ่งทำให้รัฐบาลมีงบประมาณที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้ต่อไป และหากปีใดไม่เกิดการลงทุนเพิ่มเติม ปีนั้นอาจไม่ได้ใช้สิทธิ ITA ในส่วนนี้ แสดงให้เห็นว่า มาตรการ ITA นี้สะท้อนกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนมากที่สุด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่ามาตรการ ITA ย่อมส่งผลดีกับรัฐบาลมากกว่า เพราะจะช่วยลดการสูญเสียรายได้ที่เป็นผลมาจากการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อีกทั้งภาระภาษีที่ผู้ลงทุนต้องเสียนั้นก็ขึ้นกับการลงทุนตามความเป็นจริง ซึ่งหากผู้ลงทุนต้องการที่จะเสียภาษีน้อย หมายความว่า ผู้ลงทุนต้องลงทุนในปริมาณที่มาก หากเป็นเช่นนี้แล้วจึงบรรลุวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมและการดึงดูดนักลงทุนที่แท้จริง แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper Middle Income Country) แล้ว แต่สุดท้ายก็ต้องพัฒนาประเทศเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทย ประเทศไทยควรมีการเปลี่ยนแปลงมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยนำรูปแบบการหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุน (ITA) จากประเทศมาเลเซียและประเทศญี่ปุ่นในส่วนที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับกฎหมายไทยต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.31-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาเศรษฐกิจen_US
dc.subjectนโยบายเศรษฐกิจen_US
dc.titleแนวทางในการนำหลักการและสิทธิประโยชน์ของการหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุน (Investment tax allowance : ITA) มาใช้แทนการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordการลงทุนen_US
dc.subject.keywordสิทธิประโยชน์ทางภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.31-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61624 24.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.