Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60592
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์-
dc.contributor.authorชไมพร อยู่สุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-11-21T07:25:24Z-
dc.date.available2018-11-21T07:25:24Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60592-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาเรื่อง “สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ” มุ่งศึกษาแนวทางในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่นิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ เพื่อเป็นการเยียวยาปัญหาเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้มีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์ของกิจการต่อไปทั้งนี้ยังเป็นไปตามหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี จากการศึกษาพบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ดังนี้ 1.นิติบุคคลได้รับความเดือดร้อนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการตามความสำคัญของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้นที่มีต่อกิจการ โดยนิติบุคคลต้องเตรียมตัวดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สามารถยังคงดำเนินธุรกิจของตนต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ และมีกำไรตามเป้าหมาย ทั้งเรื่องที่ตั้งสถานประกอบการ แรงงาน ทุน และการบริหารจัดการภายในองค์กร อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ได้แก่ แรงงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และบุคคลอื่นๆ โดยรวมส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ การผลิตหรือการให้บริการของประเทศ การบริโภคของประชาชน การจ้างแรงงาน การกระจายรายได้ และการดำรงชีวิตอยู่อย่างสงบสุขของคนในสังคม 2.ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่รัฐนำมาใช้เป็นราคาพื้นฐานในการคำนวณเงินค่าทดแทนสำหรับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จากประชาชน เป็นราคาประเมินทุกๆ 4 ปี และส่วนใหญ่มักจะต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อเป็นการลดค่าธรรมเนียมและภาษีอากรที่ประชาชนต้องจ่ายแก่รัฐ ทำให้ราคาประเมินไม่ได้สะท้อนมูลค่าตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาอย่างแท้จริง ส่งผลให้เงินค่าทดแทนที่ผู้ถูกเวนคืนได้รับอาจต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคม อีกทั้งโครงการบริการสาธารณะต่างๆ ของรัฐที่ต้องดำเนินการหลังจากการเวนคืนก็จะเกิดความล่าช้าและได้รับความเสียหาย 3.นิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนมีภาระภาษีที่เกิดจากเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จากจำนวนเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่รัฐจ่าย โดยถือเป็นเครดิตภาษีและภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรจากการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้น จากการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการข้างต้น ประกอบกับการศึกษากฎหมายการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสำหรับกรณีดังกล่าวโดยเฉพาะเพื่อเยียวยาปัญหาเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้นิติบุคคลมีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.32-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สินen_US
dc.subjectการเวนคืนที่ดินen_US
dc.titleสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.subject.keywordการเวนคืนen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.32-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61630 34.pdf30.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.