Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60644
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สันติ ภัยหลบลี้ | - |
dc.contributor.author | เบญจพร แสนสวาท | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-02T05:27:00Z | - |
dc.date.available | 2018-12-02T05:27:00Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60644 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากลไกการเกิดแผ่นดินไหว (focal mechanism) ตามรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลักเทือกเขาหิมาลัย (The main central thrust, Himalaya) โดยใช้ฐานข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจากหน่วยงาน Global Centroid Moment Tensor (http://www.globalcmt.org/CMTsearch.html) ซึ่งจะออกมาในรูปแบบของ GMT format จะมีจำนวนข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีตบริเวณพื้นที่ศึกษานี้จำนวน 1580 ข้อมูล บันทึกอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2519–พ.ศ.2560 และมีความลึกของจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างตั้งแต่ 10-423 กิโลเมตร ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้จำแนกข้อมูลจากสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว (seismotectonic setting) ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) แผ่นดินไหวระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่ระดับความลึก 10- 40 กิโลเมตร (interplate earthquake) และ 2) แผ่นดินไหวภายในแผ่นเปลือกโลกที่ระดับความลึกตั้งแต่ 41 กิโลเมตรขึ้นไป (intraslab earthquake) ซึ่งในแต่ละสภาพแวดล้อมผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่าระนาบรอยเลื่อน (fault plane determination) ประกอบไปด้วย 1) ค่าการวางตัวของรอยเลื่อน (strike) 2) ค่ามุมเอียงเท (dip) และ 3) ค่ามุมคาย (rake) จากผลการศึกษาสรุปว่า ในกรณีของแผ่นดินไหวระหว่างแผ่นเปลือกโลก(interplate earthquake) พบว่าพื้นที่ทางตะวันตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ และทางตอนเหนือมีการเลื่อนตัวแบบรอยเลื่อนแนวระดับชนิดขวาเข้า (right-lateral strike-slip fault) ในขณะที่ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่ศึกษามีการเลื่อนตัวแบบรอยเลื่อนปกติแบบขวาเข้า (normal right-lateral oblique fault) และทางด้านตะวันตกของพื้นที่มีการเลื่อนตัวแบบแนวรอยเลื่อนย้อนมุมกลับแบบขวาเข้า (reverse right-lateral oblique fault) ซึ่งเมื่อนามาเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตพบว่ามีความคล้ายคลึงกันซึ่งจะมีช่วงของค่าการวางตัวของรอยเลื่อนอยู่ที่ 30.1 - 353.4 องศา ค่ามุมเอียงเทอยู่ที่ 32.5 - 86.4 องศา และค่ามุมคายอยู่ที่ -64.5 - 178.4 องศา ส่วนกรณีของแผ่นดินไหวภายในแผ่นเปลือกโลก (intraslab earthquake) จะมีค่าการวางตัวของรอยเลื่อนอยู่ที่ 125.0 - 257.5 องศา ค่ามุมเอียงเท 35.7 - 80.0 องศา และค่ามุมคายอยู่ที่ -173.3 - 91.5 องศา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของค่ามุมคายในบริเวณแผ่นดินไหวระหว่างแผ่นเปลือกโลก (interplate earthquake) ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวตาม (after shock) เมื่อเกิดแผ่นดินไหวหลัก (mainshock) ขึ้นในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | In order to clarify characteristic of seism genic faulting along the Main Central Thrust, Himalayan, this project studied focal mechanism by using 1580 data recorded systematically during A.D. 1976-2017(http://www.globalcmt.org/CMTsearch.html). Seismotectonically, all focal data were separated into 2 seismotectonic setting, i.e., It can separate 2 groups by depth between 10 and 423 km. as 1) interplate earthquake data depth 10 - 40 km. and 2) intraslab earthquake data is depth more than 41km. In each focal dataset, spatial distribution of focal parameters were investigated statistically, i.e., 1) strike, 2) angle of dip, and 3) angle of rake. Thereafter, the earthquake source zone along the Main Central Thrust, Himalayan were segmented and clarified all mentioned characteristic parameters. The result reveal that1) Southeast, Northeast, and Northern of intraplate show right-lateral strike-slip fault, 2) Middle Northeast of intraplate shows normal right-lateral oblique fault, and 3) Western of intraplate illustrates reverse right-lateral oblique fault. Comparing with previous works, they show the direction of fault ranged between 30.1º - 353.4º, angle of dip between 32.5º - 86.4º, and angle of rake between -64.5º - 178.4º. The results of intraslab earthquake show direction of fault ranged between 125º - 257.5º, angle of dip between 35.7º - 80º, and angle of rake between -173.3º - 91.5º. In particularly, the angle of rake of the interplate earthquake can infer the area of high risk after shock when the upcoming mainshock occur in the future | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แผ่นดินไหว | en_US |
dc.subject | วิทยาแผ่นดินไหว | en_US |
dc.subject | รอยเลื่อน (ธรณีวิทยา) | en_US |
dc.subject | Earthquakes | en_US |
dc.subject | Seismology | en_US |
dc.subject | Faults (Geology) | en_US |
dc.title | กลไกการเกิดแผ่นดินไหวตามรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลัก เทือกเขาหิมาลัย | en_US |
dc.title.alternative | Focal mechanism along the main central thrust, Himalaya | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Santi.Pa@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
senior_project_Benjaporn Sansawat.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.