Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60648
Title: กลุ่มแผ่นดินไหวขนาดเล็กตามแนวชายแดนประเทศไทย-ลาว-พม่า
Other Titles: Small earthquake clusters along Thailand-Laos-Myanmar borders
Authors: เชาว์วรรธน์ สิงห์ทอง
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Santi.Pa@Chula.ac.th
Subjects: แผ่นดินไหว -- ไทย
แผ่นดินไหว -- พม่า
แผ่นดินไหว -- ลาว
การประเมินอันตรายจากแผ่นดินไหว
Earthquakes -- Thailand
Earthquakes -- Myanmar
Earthquakes -- Laos
Earthquake hazard analysis
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่ตามแนวชายแดนประเทศไทย-ลาว-พม่า มีปรากฏการณ์การเกิดแผ่นดินไหวของกลุ่มแผ่นดินไหวขนาดเล็กจำนวนมากภายในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจะเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก แต่มีอัตราการเกิดที่สูงมากเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกถึงผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะประเมินพฤติกรรมแผ่นดินไหวบริเวณชายแดนประเทศไทย-ลาว-พม่า โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหว ประกอบไปด้วยการประเมินพฤติกรรมแผ่นดินไหวเพื่อประเมิน 1) ขนาดแผ่นดินไหวใหญ่สุดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2) คาบอุบัติซ้าของการเกิดแผ่นดินไหว 3) ความน่าจะเป็นของการเกิดแผ่นดินไหวขนาดต่าง ๆ 4) พลังงานความเครียดที่ปลดปล่อยจากแผ่นดินไหว 5) รูปแบบของการเกิดแผ่นดินไหว และ 6) ภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยประเมินภัยพิบัติและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นขณะเกิดแผ่นดินไหว โดยผลการประเมินขนาดแผ่นดินไหวใหญ่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตที่บริเวณชายแดนระหว่างตะวันออกของประเทศพม่าและตะวันตกของประเทศลาว มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่สุดขนาด 5.9, 6.2, 6.9, 7.2 แมกนิจูด ในอีก 5, 10, 30 และ 50 ปีในอนาคต ตามลำดับ มีคาบอุบัติซ้าของการเกิดแผ่นดินไหว 0 ปี, 1 ปี, 6 ปี และ 34 ปี ของการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4, 5, 6 และ 7 แมกนิจูดตามลำดับ และแผ่นดินไหวกลุ่มนี้มีโอกาส 100% ในการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0, 5.0, และ 6.0 แมกนิจูด ในอีก 50 ปี มีโอกาส 70-77% ในการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 แมกนิจูด ในอีก 50 ปี และบริเวณชายแดนระหว่างตะวันออกของประเทศพม่าและตะวันตกของประเทศลาว ยังมีแรงเค้นรวมสูงสุดที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวมีค่า 17.5 × 1025 นิวตันเมตร หรือเปรียบเทียบได้กับแผ่นดินไหวขนาดประมาณ 6.8 แมกนิจูด ค่ามิติแฟร็กทัลสามารถแปลความไปในทางรูปแบบการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ศึกษาได้โดยค่า Dc อยู่ในช่วง 2.18-2.79 แสดงถึงแหล่งกาเนิดแผ่นดินไหวมีลักษณะเป็นปริมาตรไม่มีการรวมกลุ่มกันหรือกระจุกตัวกันของแผ่นดินไหว ส่วนการประเมินแรงสั่นสะเทือนสูงสุดมีค่าอยู่ระหว่าง 0.01-0.58 g บริเวณที่มีแรงสั่นสะเทือนสูงสุดคือที่บริเวณอำเภอแม่สรวย, อำเภอแม่ลาวและอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (กลุ่มที่ 1) มีระดับแรงสั่นสะเทือนสูงสุดมีค่า 0.58 g ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และปรับปรุงคุณภาพของสิ่งก่อสร้างให้เหมาะสมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
Other Abstract: Thailand-Laos-Myanmar borders have small earthquakes occurred. then many people concerned about impact from a large number of the small earthquakes. This study investigates earthquake activities of small earthquakes along Thailand-Laos-Myanmar borders. Using the earthquake catalogue, the earthquake parameters representing seismic activities were evaluated in terms of i) possible maximum magnitude, ii return period, iii) earthquake occurrence probabilities, iv) seismic moment, and v) fractal dimension. In addition in order to clearify the level of ground shaking according to those earthquake clusters, the seismic hazard were also estimated using deterministic approach. Analyses of the possible maximum magnitude earthquakes derived from the a and b values indicate that eastern Myanmar–Western Laos borders are capable to generate an earthquake annually with a mb 5.9, 6.2, 6.9, and 7.2 might be generated every 5, 10, 30 and 50 years, respectively. And in this area can generate an earthquake within a short period with the return periods of the earthquake with mb of 4.0, 5.0, 6.0 and 7.0 were 0, 1, 6 and 34 years, respectively and there were an around 100% probability of an earthquake with magnitude 4.0, 5.0 and 6.0 mb in the next 50 years and 77 % probability of an earthquake with magnitude 7 mb. For the Myanmar-Laos borders area have maximum seismic moment energy that releasing from the small earthquake. The pattern of a small earthquakes along Thailand-Laos-Myanmar borders is a volume source (based on the Dc = 2.18-2.79). Analyses of seismic hazard that the maximum accelerations are about 0.58 g in Mae Saruai, Mae Loa, Phan district Chiang Rai province, which is necessary to evaluate risks of the area and properly adjust quality of buildings to reduce damages from earthquake, which may occur in future.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60648
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Chaowat Singthong.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.