Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60718
Title: การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมศิลปะโดยใช้ทีมเป็นฐาน  เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์
Other Titles: Development of art activities program with team-based learning to encourage the self-esteem of children in foster care
Authors: ณิชาบูล ลำพูน
Advisors: ขนบพร แสงวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Khanobbhorn.W@Chula.ac
Subjects: ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน
ความนับถือตนเองในเด็ก
Arts -- Study and teaching
Self-esteem in children
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาโปรแกรมกิจกรรมศิลปะ เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์    2. ศึกษาผลการจัดโปรแกรมกิจกรรมศิลปะโดยใช้ทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ เด็กหญิงอายุในช่วง 11-15 ปี ในบ้านอุปถัมภ์ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  จำนวน 16 คน ทำการทดลองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1) โปรแกรมกิจกรรมศิลปะโดยใช้ทีมเป็นฐาน   ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  แผนการจัดกิจกรรม  แบบประเมินความรู้ แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล  แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของทีม  แบบประเมินตนเองหลังเข้าร่วมกิจกรรม  2) แบบประเมินความพึงพอใจ  3) แบบสอบถามความคิดเห็น  4) แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์  ลักษณะโปรแกรมเน้นการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองผ่านการศึกษาความรู้และทักษะการทำงานศิลปะ โดยใช้กลยุทธ์ทีมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำคัญ  ด้านความเป็นผู้นำ  ด้านคุณธรรม  และด้านความสามารถ  ซึ่งแบ่งขั้นตอนการจัดกิจกรรมเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้  ขั้นเตรียมความพร้อม   ขั้นทดสอบความรู้   และขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ โดยองค์ประกอบโปรแกรมประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์: เน้นการเห็นคุณค่าในตนเอง 2) เนื้อหาการเรียนรู้: เน้นการทำงานศิลปะ การทำงานประดิษฐ์ การออกแบบที่สอดแทรกคุณธรรม 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้: เน้นการศึกษาความรู้ด้วยตนเอง ทำแบบทดสอบ 4) การวัดและประเมินผล: เน้นการสังเกตพฤติกรรมและประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งผลการทดลองโดยใช้โปรแกรมพบว่าเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
Other Abstract: The purposes of this research were: 1. To develop a program of art activities with Team-based learning to encourage self-esteem of children in foster care 2. To study the results of the program of art activities with Team-based learning to encourage self-esteem of children in foster care. Developed by the study of documents. The samples used in the study 11-15-year-old  girls in foster homes. The experimental group consisted of 16 adolescents. The experiment was conducted once a week for 2 times a total of 8 times. The instruments used in this study were 1) a team-based art activity program consisting of general information questionnaire, Lesson Plan, Knowledge Assessment, Self-esteem Evaluation, Personal Behavior Observation, Observation of team behavior, Self-esteem assessment after participation 2) Satisfaction Assessment Form 3) Questionnaire and 4) Interview Form for Child Care Facilitator. The program focused on the development of self-esteem through the study of knowledge and skills in the art using Team-Based Learning. There are 8 activities that promote self-esteem in all four area, Significant, Power, Virtue and Competence. The steps are divided into 3 steps. Preparation  Knowledge Test and The Application of knowledge. The program includes 1) Objective: Self-esteem 2) Learning content: Art, invention, design, and insertion of virtue 3) Learning process: Focus on self-study, and testing 4) Measurement and evaluation: Observe Behavior and Self-Assessment The results showed that the self-esteem of the children in foster care was higher than before the program at the .05 level.  
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60718
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1487
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1487
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783394027.pdf8.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.