Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60776
Title: ผลของน้ำมันไบโอดีเซลและดีเซลต่อไข่และวัยอ่อนของกุ้งก้ามกราม
Other Titles: Effect of biodiesel and diesel on egg and larval stages of Macrobrachium Rosenbergii
Authors: ปุญชรัสมิ์ ก่อเจริญวัฒน์
Advisors: สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
สมใจ เพิ่งปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Somkiat.P@Chula.ac.th
somchai.pe@chula.ac.th
Subjects: เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
การปนเปื้อนของน้ำมันในทะเล
กุ้งก้ามกราม -- ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
Biodiesel fuels
Oil pollution of the sea
Macrobrachium rosenbergii -- Effect of water pollution on
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล (WSF ไบโอดีเซล) และน้ำมันดีเซล (WSF ดีเซล) ที่อุณหภูมิ 25, 28, 31 และ 34 องศาเซลเซียส และความเค็ม 10, 15 and 20 psu ต่อไข่และวัยอ่อนของกุ้งกรามกราม พบว่าเวลาฟักไข่ของกุ้งก้ามกรามมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิโดยที่ 25, 28, 31 และ 34 องศาเซลเซียส ระยะเวลาฟักไข่เท่ากับ 19, 17, 16 และ 15 วัน ตามลำดับ โดยไม่พบผลของส่วนที่ละลายน้ำของไบโอดีเซลและดีเซลต่อระยะเวลาฟักของไข่กุ้ง สำหรับอัตรารอดชีวิตของลูกกุ้งหลังฟักพบสูงในชุดควบคุมและส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล แต่มีแนวโน้มการรอดลดต่ำลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 34 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะส่วนที่ละลายในน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล (33.36+0.73 เปอร์เซ็นต์) และไม่พบอัตรารอดของลูกกุ้งหลังฟักที่ความเข้มข้น 100% ส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันดีเซล แต่ความเข้มข้น 50% ส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันดีเซล อัตรารอดเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 34 องศาเซลเซียส (37.39+0.58 เปอร์เซ็นต์) ส่วนอัตราการตายของลูกกุ้งระยะต่างๆพบว่าลูกกุ้งระยะที่ I-III มีการตายเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดเพิ่มขึ้น และพบว่าส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล มีความเป็นพิษต่ำกว่าส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันดีเซล การตายของลูกกุ้งที่อุณหภูมิ 28 และ 31 องศาเซลเซียส พบต่ำกว่าอุณหภูมิอื่นๆ ส่วนผลของความเค็มต่อลูกกุ้งระยะที่ I-III พบว่าความเค็มมีผลต่อการตายของลูกกุ้งระยะที่ I-II ต่ำกว่าระยะที่ III ลูกกุ้งระยะโพสลาวาร์พบการตายของลูกกุ้งต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซล ก่อให้เกิดการตายกับลูกกุ้งมากกว่าส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันดีเซล การศึกษาครั้งนี้พบว่าส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันไบโอดีเซลมีลักษณะขาวขุ่นเป็นอิมัลชันในน้ำและคราบน้ำมันขนาดเล็กลอยอยู่บนผิวน้ำ ไปขัดขวางการเคลื่อนไหวและหายใจของลูกกุ้ง สำหรับส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันดีเซลมีลักษณะเป็นเงาวาวที่ผิวน้ำและรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ และความเป็นพิษต่อลูกกุ้งเกิดจากสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบของน้ำมันดีเซล ส่วนการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเหงือกกุ้งในระยะโพสลาวาร์ พบว่าปัจจัยของอุณหภูมิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเหงือกกุ้งมากกว่าผลของส่วนที่ละลายน้ำของน้ำมันทั้งสองชนิด โดยการเปลี่ยนแปลงหลักของเนื้อเยื่อเหงือกได้แก่ gill lamella disorganization, vacuolar degeneration และ hemocytic infiltration
Other Abstract: A study of the effect of water soluble fraction of biodiesel (WSF biodiesel) and diesel (WSF diesel) at temperature of 25, 28, 31 and 34oC and salinity 10, 15 and 20 psu on hatchability and survival of larval Macrobrachium rosenbergii was conducted. The incubation period of M. rosenbergii eggs was related to the temperature; 25, 28, 31 and 34oC at 19, 17, 16 and 15 days, respectively. There was no effect of WSF of biodiesel and diesel on hatching period. Highest hatching survival was found in no oil group and WSF biodiesel treatment. A reduction tend of hatching survival while, the temperature increased (34oC), especially, at WSF biodiesel (33.36+0.73%). Moreover, there was no hatching survival at 100%WSF diesel, but 50%WSF diesel, which increased temperature (34oC), the hatching survival was increased (37.39+0.58%). The mortality of prawn larvae stages (I-III) shown that the mortality increased with higher larval stages. The toxicity of WSF of biodiesel was lower than that of WSF diesel on larvae. At temperature 28 and 31oC, lower mortality were found company to other temperatures. Salinity effect on larvae stages demonstrated lower effect on larvae stage I-II than on stage III. Postlarvae showed lower mortality (less than 20%) but WSF biodiesel showed higher effect on postlarvae than diesel one. In addition, WSF biodiesel like a milky solution with thinner film over the surface which obstructed movement and gas exchange of the larvae. WSF diesel was glossy and homogeneously into the water which chemical compositions were toxic to the larvae. Gill histopathological alteration showed that only temperatures cause more effect on gill lamellae than WSF of oils. The dominant gill lesion showed gill lamella disorganization, vacuolar degeneration and hemocytic infiltration.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60776
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1503
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1503
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5287796920.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.