Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6079
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์-
dc.contributor.authorปานทิพย์ มหาไตรภพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-02-28T06:24:45Z-
dc.date.available2008-02-28T06:24:45Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741721218-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6079-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 6 ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาภาษาเพื่อเข้าถึงระบบความนึกคิดของผู้พูดภาษานั้นๆ ประเด็นที่มุ่งศึกษาในงานนี้ ได้แก่ 1) เกณฑ์ในการตั้งนามสกุล 2) รูปแบบและโครงสร้างของนามสกุล 3) ความหมายของนามสกุล และ 4) ค่านิยมและลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่สะท้อนจากนามสกุลดังกล่าว ในการวิจัยผู้วิจัยสุ่มตัวอย่าง 3,000 นามสกุล จากนามสกุลทั้งหมด 6,000 กว่านามสกุลและอาศัยข้อมูลภูมิหลังความเป็นมาของนามสกุลจากอักขรานุกรมพระราชทานในรัชกาลที่ 6 สมมติฐานของงานวิจัยนี้คือ การตั้งนามสกุลพระราชทานมี 2 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์ภูมิหลังและเกณฑ์ทางภาษา ส่วนรูปแบบของนามสกุลมีหลากหลายและสามารถสรุปเป็นกฎได้ว่ามีส่วนประกอบ 3 ส่วน และส่วนแรกที่ต้องปรากฏเสมอคือชื่อบรรพบุรุษ ในด้านความหมาย คำที่นำมาตั้งเป็นนามสกุลมีความหมายเป็นสิริมงคลและสะท้อนให้เห็นค่านิยมและลักษณะของวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับการให้ความสำคัญแก่ฝ่ายชายและการที่คนไทยนิยมรับราชการ แต่ชาวจีนนิยมค้าขาย ผลการวิจัยพบว่า นามสกุลพระราชทานมีเกณฑ์การตั้งนามสกุล 2 เกณฑ์ คือการตั้งตามภูมิหลังของผู้ขอพระราชทาน และการตั้งโดยใช้กลวิธีทางภาษา การตั้งตามภูมิหลังของผู้ขอพระราชทาน พบว่าเป็นการตั้งตามชื่อและลักษณะทางสังคมของผู้ขอพระราชทานและบรรพบุรุษ ส่วนการตั้งตามเกณฑ์ภาษา พบว่าเป็นการตั้งโดยใช้ความหมายและเสียงของชื่อเดิมเป็นเกณฑ์ ในด้านโครงสร้างและรูปแบบของนามสกุล พบว่านามสกุลประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ [ส่วนหลัก+(ส่วนเสริมท้าย)] และ [ณ+ชื่อสถานที่] โดยอาจปรากฏส่วนเดียวหรือสองส่วนก็ได้ ดังนั้นจึงมี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. [ส่วนหลัก+(ส่วนเสริมท้าย)] 2. [ณ+ชื่อสถานที่] และ 3. [ส่วนหลัก+(ส่วนเสริมท้าย)] + [ณ+ชื่อสถานที่] และยังพบว่าส่วนแรกของนามสกุลมักจะเป็น “ชื่อบรรพบุรุษ” ส่วนความหมายของนามสกุลซึ่งพิจารณาจากหน่วยศัพท์นอกเหนือจากที่มาจากชื่อเดิมหรือภูมิหลังทางสังคมนั้นมีการนำความหมายที่ดีเป็นสิริมงคลมาตั้ง ได้แก่ ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง การสืบเชื้อสาย คุณสมบัติ และความมั่งคั่งร่ำรวย ความหมายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นค่านิยมและลักษณะของวัฒนธรรมไทย 3 ประการ คือ 1) คนไทยปรารถนาในความสุข ความเจริญ และความมั่งคั่ง รวมทั้งความแตกต่างของการประกอบอาชีพระหว่างชาวไทยที่นิยมอาชีพรับราชการ ขณะที่ชาวจีนนิยมอาชีพค้าขาย 2) วัฒนธรรมการเน้นฝ่ายชายในการสืบเชื้อสาย และ 3) ความนิยมยกย่องบุคคลที่มีคุณสมบัติดี เช่น ความเป็นผู้มีความรู้ ความเมตตา ความเสียสละen
dc.description.abstractalternativeThis study is an ethnosemantic analysis, the goal of which is to study the meanings of words in a language to gain insight into the worldview of its speakers. The study aims to investigate Thai surnames bestowed by King Rama VI in four aspects: 1) the criteria used in coining the surnames, 2) the patterns and the structures of the surnames, 3) the meanings of the surnames, 4) Thai values reflected in those meanings. The data used for analysis were 3,000 surnames randomly selected from over 6,000 surnames available in the Dictionary of Thai Surnames Bestowed by King Rama VI. The hypotheses of this study are that there are two criteria in coining the surnames: the background of the name owner and the linguistic criterion. There are several patterns of the surnames which can be generalized as a rule indicating that the first part is always the ancestor{174}s name. The meanings of the surnames reflect some values and some aspects of Thai culture, such as the societal preference for a male, Thai preference for working as a civil servant and Chinese preference for being merchants. The result shows that there are two criteria in coining a surname. One is based on the owner's background and another on the linguistic criteria: semantic and phonetic motivation. Concerning the patterns and the structures of the surnames, it is found that a surname is composed of two parts: 1.[head + (qualifier)] and 2.[at + place]. The second part is optional. Thus, the surnames have three patterns: 1. [ head + (qualifier)], 2.[at + place] and 3. [ head + (qualifier)] + [at + place]. The head in the first position is normally the name of an ancestor. Regarding the meanings of the surnames, the analysis of the part of surnames which is not derived from the background of the name owner indicates five most significant meanings; namely, happiness, prosperity, descent, personal characteristics, and wealth. These meanings reflect some significant values and some aspects of Thai culture: 1) aspiration in happiness, prosperity and wealth, 2) Thai preference for being civil servants and Chinese preference for being merchants and societal preference for a male to continue a line. 3) Also, the most admirable characteristics in a person are wisdom, mercy and sacrifice.en
dc.format.extent4015393 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.374-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนามสกุล -- ไทยen
dc.subjectภาษาไทย -- อรรถศาสตร์en
dc.titleนามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์en
dc.title.alternativeThai surnames bestowed by King Rama VI : an ethnosemantic analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAmara.Pr@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.374-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panthip.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.