Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60810
Title: กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย
Other Titles: The dismantling process of floating structures for exploration and production of petroleum in the sea : a case study of dismantaling of FPSO Lewek Arunothai
Authors: วนิช สนพิพัฒน์
Advisors: เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: padermsak.j@chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เรือ -- แง่สิ่งแวดล้อม
Environmental impact analysis
Ships -- Environmental aspects
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมตลอดจนเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมต่อการรื้อถอนและการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม โดยศึกษาจากกรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย โดยงานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละเพื่อทดสอบขั้้นตอนและวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบระหว่างความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมเห็นด้วยกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมและ (2) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย เป็นแนวทางการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมและสอดคล้องตามกฎหมายภายในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำมาจัดทำแนวทางปฏิบัติในการรื้อถอนเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมในอนาคตอันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องสืบไป
Other Abstract: This research aims to study, analyze, and compare the expert opinions on environmental impact assessment reports to standard regulations and laws pertaining to the termination and FPSO decommission expert guidance appropriate for the FPSO decommission. The latest decommission of Lewek Arunothai Vessel was taken as the case study. Questionnaires were used as the tool of data collection from 20 petroleum storage and towage experts using descriptive statistics processing data in percentage to test the hypothesis and to analyze the data by comparison between the expert opinions and the standard, regulations and laws pertaining to FPSO decommissioning.  The outcome of the study suggested: (1) the experts in FPSO decommissioning with the report on environmental impact assessment as a result of the termination and FPSO decommission; and (2) the report on environmental impact assessment as a result of the termination and FPSO decommission of in the case study of the Lewek Arunothai is a suitable method for FPSO decommission in accordance with domestic and international laws related to structure demolition. In addition, the results of this study can be compiled for guidance on future demolition of petroleum tankers potentially beneficial to several other related organizations under public and private sectors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารกิจการทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60810
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.687
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.687
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5887263220.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.