Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6081
Title: การเมืองไทยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจากสมัยเมืองคู่สู่สมัยราชอาณาจักร : กรณีศึกษาพัฒนาการของวังอยุธยาและต้นกรุงเทพฯ
Other Titles: Thai politics in the lower Chao Phraya basin from the period of twin cities to the period of kingkoms : a case study of the development of Ayutthaya and early Bangkok palaces
Authors: นพดล ปาละประเสริฐ
Advisors: สุเนตร ชุตินธรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: sunait.c@chula.ac.th
Subjects: ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงศรีอยุธยา
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงศรีอยุธยา, 1893-2310
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะวิวัฒน์มาสู่การเป็นรัฐอาณาจักร มีการรวมกลุ่มเมืองในระดับแคว้นปกครองแยกเป็นอิสระในลักษณะเมืองคู่ ได้แก่ สุพรรณภูมิ-แพรกศรีราชา กับละโว้-อโยธยา ช่วงเวลานี้ศูนย์กลางการปกครองแคว้นมีลักษณะเป็นวังในเวียง โดยวังเป็นที่ประทับและสถานที่ปกครองแคว้นขนาดเล็ก ตั้งอยู่ภายในเวียง อย่างเช่น เวียงเหล็กของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนครินทราชาธิราชทรงรวมกลุ่มเมืองคู่n ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งสองเข้าด้วยกันเกิดเป็นเอกภาพ และตามมาด้วยการปฏิรูปการปกครอง และจัดเมืองลูกหลวงให้อยู่ในระบบราชการด้วยการแต่งตั้งพระราชโอรส ในตำแหน่งสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าและพระมหาอุปราช กับส่งเจ้านายขึ้นไปปกครองเมืองโดยเฉพาะเมืองพิษณุโลก อยุธยาจึงมีสภาพเป็นเมืองราชธานีหรือกรุงอันเป็นศูนย์กลางอำนาจปกครองที่มีเมืองต่างๆ อยู่ในอำนาจ วังอันเป็นที่ประทับและว่าราชการของพระมหากษัตริย์ จึงเป็นศูนย์กลางการปกครองมีลักษณะเป็นวังในกรุงหรือนครขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็นพระราชฐานชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นใน และมีวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ในเขตพระราชฐาน เมื่อตกถึงรัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราชพระองค์ทรงยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง แต่มาสำเร็จเด็ดขาดลงในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ดังเห็นได้จากในรัชกาลนี้ได้มีการส่งขุนนางขึ้นมาปกครอง และพร้อมกันไปก็หยุดการส่งเจ้านายขึ้นไปปกครองหัวเมืองแต่ให้ประทับอยู่ในพระนคร จึงเกิดวังหน้าวังหลังขึ้นในราชธานีโดยเฉพาะวังหน้าเจ้านายที่ประทับ จะรั้งตำแหน่งพระมหาอุปราช นับแต่สมเด็จพระนเรศวรเป็นอย่างช้าที่ระบบราชการส่วนกลางมีขนาดใหญ่โตมากขึ้น จากการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ส่งผลให้ขุนนางเข้ามามีบทบาททางการเมืองสูง ทั้งเป็นฐานอำนาจให้การสนับสนุนเจ้าราชินิกูลบางพระองค์จนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้ จนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ต้องเสริมสร้างพระราชวังด้วยการสร้างพระมหาปราสาท และขยายกำแพงวังออกไปเพื่อป้องกันการใช้กำลังแย่งชิงอำนาจ และเลี่ยงประทับอยู่ในกรุงศรีอยุธยาราชธานี สมเด็จพระนารายณ์ทรงสืบทอดนโยบายรักษาความปลอดภัยนั้น โดยโปรดฯ ให้สร้างวังที่เมืองลพบุรีเหมือนวังหลวงที่อยุธยาไว้ใช้เป็นที่หลบหลีกภัย และฐานอำนาจของพระองค์พร้อมกันไป และในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาทรงปรับใช้พระราชฐานชั้นในของวังหลวงด้านหลัง และกลับให้เป็นด้านหน้าเพื่อป้องกันการโจมตี และยกวังหน้าขึ้นเป็นกรมขนาดใหญ่คือเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และวังหลังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เพื่อเป็นฐานอำนาจทางการเมืองในราชธานี โดยเฉพาะพระมหาอุปราชที่กำกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระราชอิสริยยศ และมีวังใหญ่โตคล้ายวังหลวง จนเป็นเหตุให้วังหน้าสามารถท้าทายพระราชอำนาจได้ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศจึงทรงตั้งพระราชโอรสทรงกรมขนาดเล็ก และให้มีวังขนาดเล็กแทนการแต่งตั้งพระมหาอุปราชเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแย่งชิงอำนาจ จนปลายรัชกาลจึงทรงตั้งกรมขุนพรพินิตเป็นพระมหาอุปราช และขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หลังจากนั้นก็ไม่มีการแต่งตั้งพระมหาอุปราชอีกเลย จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงตั้งวังหน้า วังหลัง และกรมเจ้านายขนาดเล็ก เพื่อทรงใช้เป็นกำลังพลในราชการสงครามมากกว่าเป็นฐานพระราชอำนาจ
Other Abstract: This study finds that before becoming a kingdom the cities in the Chao Phraya River Basin were grouped as independent towns-twin cities such as Suphanburi (Suphanaphum)-Phraek Si Racha in the Mae Klong-Thachin basin and Lopburi (Lawo)-Ayutthaya (Ayothaya) in the Lopburi-Pasak basin. In this period, the administrative center of the town was the wang within a wiang. The wang was the residence and work place of the ruler in small towns (wiang), such as King Ramathibodi I's wiang lek. Later King Intharacha united both regions, reformed the administration and bureaucratized muang luk luang by appointing royal sons as somdet no phra phuttha chao and phra maha uparat, sending royalty to govern Phitsanulok, a first class province. As a result, Ayutthaya became the governing center, with a large and complex Royal Palace. The Palace was divided into three sections: outer, central, and inner, with Wat Phra Si Sanphet included in the palace area. King Chairacha cancelled the muang luk luang system, a measure that became fully effective in King Naresuan's time, when many khunnang governed provinces and princes remained in Ayutthaya, forming a kind of centralization. The wang na (Front Palace) and wang lang (Rear Palace) thus came into being. King Prasatthong tried to diminish the khunnang's authority and strengthened the Royal Palace by building throne halls and expanding the palace walls. His son King Narai avoided staying in Ayutthaya, preferring to set up his court and power base at Lopburi. King Phetracha moved the court back to Ayutthaya, using the inner court at the back of the Royal Palace as the front, in order to prevent attack. He also appointed the Front Palace and Rear Palace princes as krom phra racha wang bowon sathanmongkhon and krom phra racha wang bowon sathanphimuk respectively. Royal political power was thus concentrated in the capital, especially with the phra maha uparat as a large krom holder, with enough resources to challenge the king's power. King Borommakot appointed his sons to small krom, instead of appointing a phra maha uparat. At the end of his reign he appointed Kromkhun Phonphinit (later King Uthumphon) as uparat. There were no more phra maha uparat until the reign of King Rama I, who re-established the Front Palace, Rear Palace, and smaller krom, to be used as manpower sources in war, rather than as the king's own power base.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6081
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.377
ISBN: 9741717377
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.377
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nophadol.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.