Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6085
Title: ทางเลือกในการปรับปรุงอาคารซึ่งใช้แผงกันแดดคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นองค์ประกอบหลักในพื้นที่เขตการศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Rehabilitation alternatives for building with reinforced concrete shading in the educational area of Chulalongkorn University, Bangkok
Authors: ปิติรัตน์ ยศวัฒน
Advisors: ชวลิต นิตยะ
ปิยนุช เตาลานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chawalit.N@Chula.ac.th
p-taulananda@yahoo.com
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาคาร
อาคารเรียน
สถาบันอุดมศึกษา -- อาคาร
แผงกันแดด
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อาคารส่วนใหญ่ในพื้นที่เขตการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอายุอาคารอยู่ในช่วง 21-40 ปี ซึ่งเริ่มมีปัญหาของงานระบบประกอบอาคารที่หมดอายุการใช้งาน โดยรูปแบบหนึ่งที่นิยมคือ อาคารซึ่งใช้แผงกันแดดคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งพบว่า อาคารเหล่านี้มีสภาพปัญหาที่คล้ายคลึงกันในประสิทธิภาพของเปลือกอาคาร และงานระบบในประเด็นต่างๆ การวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะหาแนวทางการปรับปรุงกลุ่มอาคารดังกล่าว โดยพิจารณาหลักการออกแบบผสมผสานในประสิทธิภาพอาคารด้านงานระบบ โครงสร้าง แสงสว่าง คุณภาพอากาศและสภาวะสบายภายในอาคาร ทั้งนี้ได้คัดเลือกอาคารกรณีศึกษาเพื่อใช้เป็นตัวอย่างจำนวน 4 อาคารคือ อาคารเคมี 3 (SCI09) อาคารเศรษฐศาสตร์ 1 (ECO01) อาคารครุศาสตร์ 4 (EDU04) และอาคารเภสัชศาสตร์ 1 (PHA01) โดยได้สำรวจข้อมูลเบื้องต้นและวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจและได้แยกแยะปัญหาเป็น 2 กลุ่มคือ ปัญหาทั่วไปที่สามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่เฉพาะเจาะจงได้ และปัญหาที่เสนอเป็นทางเลือกในการปรับปรุงที่เน้นในแต่ละประเด็นของการผสมผสาน เพื่อให้เป็นการแก้ปัญหาร่วมกันและไม่สร้างผลกระทบให้เกิดปัญหาในด้านอื่นตามมา สุดท้ายเป็นการสรุปภาพรวมของแต่ละอาคาร โดยได้จัดทำแบบสำหรับบันทึกและวิเคราะห์ตลอดทุกขั้นตอนของการศึกษา เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งผลของการศึกษาพบว่า แนวความคิดหลักในการออกแบบอาคารเน้นการป้องกันแสงแดดทางตรงเป็นอย่างมาก และใช้การระบายอากาศธรรมชาติ แผงกันแดดจึงมีลักษณะทึบตัน ช่องเปิดน้อย ในช่วงการใช้งานมีการบำรุงรักษาต่ำ มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบปรับอากาศในอาคารตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้แสงธรรมชาติและกระแสลมเข้ามาได้น้อย ทั้งยังเกิดปัญหาแสงจ้าจากความเปรียบต่างที่มากเกินไป และมีปัญหาการติดตั้งและการบำรุงรักษาท่อระบายน้ำทางดิ่ง ที่ไม่ได้ออกแบบเตรียมไว้แต่แรก รวมทั้งการระบายอากาศในอาคารไม่เพียงพอ จึงได้เสนอให้มีการรื้อเปลี่ยนแผงกันแดดคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นแผงอลูมิเนียมเกล็ดซึ่งมีน้ำหนักเบา ช่วยสะท้อนแสงสว่าง บดบังเครื่องปรับอากาศ ระบายอากาศได้ดี บำรุงรักษาง่าย ร่วมกับการเพิ่มช่องเปิดให้ผนังภายนอกและผนังภายใน ซึ่งค่อนข้างจะใช้งบประมาณมาก อย่างไรก็ตาม อาจปรับปรุงโดยใช้งบประมาณน้อยลงมา ได้แก่ การติดตั้งท่อระบายน้ำทางดิ่งที่เหมาะสม การบำรุงรักษาซ่อมแซมผิวอาคารและการแตกร้าว เปลี่ยนวัสดุ การตกแต่งภายในและแสงประดิษฐ์ ปรับปรุงการติดตั้งงานระบบ มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย เป็นต้น ซึ่งการปรับปรุงที่ดีจะต้องคำนึงถึงการผสมผสานที่ครบวงจร และอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
Other Abstract: Most buildings in the educational area of Chulalongkorn University were built between 21-40 years ago so that now problems of building systems have occurred. One of the most popular designs was building with reinforced concrete shading and the buidings of this type have got the same problem of performance. So, this researach was designed to find rehabilitation alternative for these buildings, with concerns about the integration in building systems, structural performance, visual performance, indoor air quality and thermal performance. As examples for the research, four buildings were chosen to be case studies they are SCI09, ECO01, EDU04 and PHA01. The research process started with gathering and analysis of the data to understand their physicals condition. Then all problems were classified into two categories. First, the ordinary problems that can be solved by one simple solution, and second, the problems of building integration that should be solved by many alternative solutions to prevent the consequential effects. Along the process, 5 checklist forms were designed. Since the design objectives of these buildings were to protect from direct sunlight and use natural ventilation, all fins and exterior walls were designed to be large solid areas with small openings. In addition, with low maintenance of concrete skin material and changing of room planning, it was found that there was less natural light and natural ventilation inside the buildings. Also the problem of too much brightness and contrast. Furthermore, there was an important change of building system in using split-type air-conditioning instead of natural ventilation. This brought the problem of installation methods, low ventilation and maintaining the waste water riser from the overhangs. To help in reflecting indirect light into the room, screening the view of the air-conditioner machinery and to allow more natural ventilation, the exterior and interior walls should have more openings and the solid concrete shadings should be change into aluminium louvres that have got less wieght and low maintenance is needed. However, this solution may involve a lot of rehabilitation cost, so that the other solutions may be considered to do first, such as, the installation of suitable waste water risers, material maintenance, crack repair, redesigning the interior decoration and artificial lighting and also the building systems and fire protection upgrading. Finally, the rehabilitation should concern many buiding integration criteria to achieve the success, and also, people need to have responsibility in using buildings from everyone who is concerned: that is, the owner, manager and the users, need to have more responsibility in using buildings.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6085
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.361
ISBN: 9741727925
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.361
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitirat.pdf10.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.