Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6091
Title: Influence of clay and shale smear in fault zone on the potential sealing of hydrocarbon in block B8/32, Pattani Basin, Gulf of Thailand
Other Titles: อิทธิพลจากการฉาบของตะกอนดินเหนียว และหินดินดานบริเวณรอยเลื่อนต่อการมีศักย์ปิดกั้นไฮโดรคาร์บอนแปลงสัมประทาน B8/32 แอ่งปัตตานี อ่าวไทย
Authors: Thammasak Koednok
Advisors: Punya Charusiri
Rigo, Luca
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: cpunya@chula.ac.th
No information provided
Subjects: Faults (Geology)
Sediments (Geology)
Issue Date: 2002
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Fault seal study is aimed at identifying and evaluating influence of clay and shale smear in a fault zone in the hydrocarbon-bearing reservoirs, Benchamas-A field of Block B8/32, Pattani basin in the Gulf of Thailand. Six alternated sequences of 1,230 ft (378 m)-thick sands and shales from 9 drill holes, were selected for this study. Gamma-ray log interpretation indicates that these interbeds are mostly fluvial in origin, and two clay-dominated horizons (av. 220 ft or 68 m) suggest a lacustrine environment. Subsurface data from selected reservoir sand horizons, in a descending order, as U-C6, U-B2, U-B3, U-B4, U-B5, and U-B6 with thickness varying from 14 to 75 ft (4 to 18 m), were used for constructing top depth structure (reservoir sand horizon) maps, net-sand (isopach) maps, and a fault-plane section (or Allan fault diagram). Based on the top depth structure map, the N-trending fault in Benchamas-A field shows a normal sense of movement with high-dip angles to the east and a total vertical displacement of 325 ft (100 m). The net-sand maps indicate large volumes of reservoir sand located in the upthrown eastern side of the fault plane. To analyze the fault seal 3 majors consecutive stages are involved. The first stage is to investigate trapping potential using fault-plane-section analysis. Result from fault-plane-section, a total of 8 sand horizons for both upthrown and downthrown sides of a fault plane, have potentials for fault sealing. They are U-C6, U-B2, U-B3, and U-B5 sand horizons in the upthrown side and the U-B6, U-B3, U-B4, and U-B6 sand horizons in the downthrown side. However, 4 sand horizons including the U-B4 and U-B6 of the upthrown side and the U-B2 and U-B5 of the downthrown side, have leakage potentials where each horizon is juxtaposed against one another across the fault. The second stage is to evaluate fault seals using the shale gouge ratio (SGR) based on calculated shale volumes, bed thickness, and fault throws. The SGR values of40 to 42% are calculated for the U-B4 sand horizon juxtaposed against the U-B2 sand horizon and 62 to 86% for the U-B6 and the U-B5 horizons. These SGR values are obviously greater than the threshold SGR values (15-20%) for static hydrocarbon sealing. The third step is to confirm seal capacity by using pore-pressure profile. The result shows that the across-fault pressure difference varies from 5 to 23 psi (0.3 to 1.5 bar). Such values of pressure difference suggest good sealing capacity in the sand offset areas. In conclusion, the studied fault in Benchamas-A field can be sealed by clay and shale smears on the fault plane. Furthermore, the methodology and the result in this research can be applied to predict the fault seal capacity in the other areas of similar lithologies and structures.
Other Abstract: การศึกษารอยเลื่อนปิดกั้นเป็นจุดมุ่งหมายที่จะพิสูจน์และประเมินอิทธิพลการฉาบตัวของตะกอนดินเหนียวและหินดินดานบริเวณรอยเลื่อน ภายในชั้นหินอุ้มไฮโดรคาร์บอน พื้นที่เบญจมาศ-A ของ Block B8/32 แอ่งปัตตานีในอ่าวไทย โดยได้เลือกชั้นทรายและชั้นหินดินดานสลับกันหกชั้น ความหนา 1,230 ฟุต (378 เมตร) จากเก้าหลุมเจาะเพื่อการศึกษาครั้งนี้ ผลการแปลความหมายข้อมูลหยั่งธรณีหลุมเจาะชนิดแกรมม่าเรย์ชี้ว่าชั้นแทรกสลับเหล่านี้ทั้งหมดมีต้นกำเนิดจากการทำงานของแม่น้ำและลำธาร, ส่วนชั้นดินเหนียวเด่นสองชั้น (หนาเฉลี่ย 220 ฟุตหรือ 68 เมตร) ระบุถึงสภาพแวดล้อมแบบทะเลสาบ ข้อมูลใต้ผิวดินจากชั้นทรายกักเก็บไฮโดรคาร์บอนที่ได้เลือกสรร เรียงลำดับจากบนลงล่างคือชั้น U-C6, U-B2, U-B3, U-B4, U-B5, และ U-B6 โดยมีความหนาในช่วง 14 ถึง 75 ฟุต (4 ถึง 18 เมตร) ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างแผนที่โครงสร้างธรณี (top depth structure map), แผนที่ชั้นความหนาสุทธิชั้นทราย [net sand (isopach) map], และแบบจำลองระนาบรอยเลื่อน (fault-plane-section) จากแผนที่โครงสร้างธรณีพบว่ารอยเลื่อนวางตัวแนวทิศเหนือภายในพื้นที่เบญจมาศ-A แสดงการเลื่อนแบบปกติด้วยมุมลาดเอียงที่สูงไปในทิศตะวันออกและมีระยะในการเลื่อนตัวในแนวดิ่งทั้งหมดเท่ากับ 325 ฟุต (100 เมตร) ส่วนแผนที่ชั้นความหนาสุทธิชั้นทรายระบุว่าชั้นทรายกักเก็บไฮโดรคาร์บอนที่มีปริมาณสูงสะสมตัวอยู่ทางทิศตะวันออกในฝั่งชั้นหินเลื่อนขึ้นของระนาบรอยเลื่อน ในการวิเคราะห์รอยเลื่อนปิดกั้น มีสามขั้นตอนหลักต่อเนื่องกันตามลำดับ คือ ขั้นแรก คือการสืบสวนความสามารถจะเป็นตัวกักเก็บ จากแบบจำลองระนาบรอยเลื่อน ชั้นทรายทั้งหมดแปดชั้นจากฝั่งชั้นหินเลื่อนขึ้นและลงของระนาบรอยเลื่อนมีศักย์ต่อการปิดกั้น ชั้นเหล่านี้ประกอบไปด้วยชั้นทรายในฝั่งชั้นหินเลื่อนขึ้น U-C6, U-B2, U-B3, และ U-B5 และชั้นทรายในฝั่งชั้นหินเลื่อนลง U-C6, U-B3, U-B4, และ U-B6 อย่างไรก็ตาม 4 ชั้นทรายซึ่งได้แก่ ชั้นทราย U-B4 และ U-B6 ในฝั่งชั้นหินเลื่อนขึ้นและชั้นทราย U-B2 และ U-B5 ในฝั่งชั้นหินเลื่อนลงมีแนวโน้มจะเกิดการรั่วไหลของไฮโดรคาร์บอนได้ ณ บริเวณสัมผัสแต่ละชั้นทรายหนึ่งกับชั้นทรายอื่นข้ามรอยเลื่อน ขั้นที่สอง คือการประเมินรอยเลื่อนปิดกั้นโดยใช้ shale gouge ratio (SGR) โดยอาศัยการคำนวณปริมาตรหินดินดาน, ความหนาชั้นหิน, และระยะการเลื่อนตัวในแนวดิ่ง ได้ค่า SGR 40 ถึง 42 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการคำนวณในชั้นทราย U-B4 สัมผัสกับ U-B2 และค่า 62 ถึง 86 เปอร์เซ็นต์ จากชั้น U-B6 สัมผัสกับ U-B5 ค่า SGR ในพื้นที่ศึกษานี้ มีค่ามากกว่าค่าเริ่มต้นสำหรับการกำเนิดการปิดกั้นไฮโดรคาร์บอนสถิตย์ (15 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์) และขั้นที่สาม คือการยืนยันความสามารถในการปิดกั้นโดยวิเคราะห์จากความดันชั้นหินภาคตัดขวาง (pore-pressure profile) ผลลัพธ์แสดงถึงความแตกต่างของความดันข้ามรอยเลื่อน (across-fault pressure difference) อยู่ในช่วง 5 ถึง 23 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (0.3 ถึง 1.5 บาร์) ด้วยค่าความแตกต่างของความดันนี้แสดงความสามารถในการกำเนิดการปิดกั้นที่ดีในพื้นที่ชั้นทรายซ้อนทับ โดยสรุปแล้ว รอยเลื่อนในพื้นที่เบญจมาศ-Aสามารถกำเนิดการปิดกั้นได้โดยการฉาบของตะกอนดินเหนียวและหินดินดานบนระนาบรอยเลื่อน นอกจากนี้วิธีการและผลลัพธ์จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปทำนายประสิทธิภาพและความสามารถในการเป็นตัวปิดกั้นของรอยเลื่อนต่อไฮโดรคาร์ในพื้นที่อื่นได้ที่ซึ่งมีลักษณะธรณีวิทยาและโครงสร้างคล้ายคลึงกัน
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2002
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Geology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6091
ISBN: 9741730527
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thammasak.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.