Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorธนวดี กังน้อย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-04T07:01:33Z-
dc.date.available2018-12-04T07:01:33Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61034-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ซึ่งมีการดำเนินไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการพัฒนากฎหมายภาษีอากรของแต่ละประเทศที่ยังปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไป และยังไม่ทันสมัย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลรัษฎากรของไทยปัจจุบันยังไม่สามารถใช้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้อย่างครบถ้วน จากมูลค่าการตลาดที่สูงมากของการให้บริการตลาดดิจิทัลของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น การโฆษณาผ่านกูเกิ้ลหรือเฟซบุ๊ก ซึ่งมูลค่าการค้าดังกล่าวประกอบด้วยผู้ประกอบการไทยและผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติแต่มีเฉพาะผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในระบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง ในขณะที่ผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติที่ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ แต่มีการใช้บริการในประเทศไทย รัฐสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้อย่างไม่ครบถ้วน ทั้งกรณีการค้าขายระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ (B2B) มีประเด็นปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้เนื่องจากไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย หรืออาจจะเกิดจากการตีความคำนิยามเพื่อที่จะระบุว่าเป็นการประกอบกิจการในประเทศหรือไม่ รวมถึงช่องว่างของอนุสัญญาภาษีซ้อนที่เปิดโอกาสให้มีการโอนย้ายกำไรซึ่งเป็นฐานภาษีเงินได้ไปยังต่างประเทศ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ให้บริการออนไลน์ในประเทศไทยที่มีการจ่ายภาษีอย่างถูกต้องครบถ้วน กรณีปัญหาจากการค้าขายระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) คือ ประมวลรัษฎากรปัจจุบันยังไม่มีกลไกที่ชัดเจนที่จะบังคับให้ผู้รับบริการที่เป็นบุคคลธรรมาดนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่รัฐได้ ดังนั้น กรมสรรพากรได้ออกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ....โดยนำกฎหมายของอินเดียมาใช้เป็นต้นแบบในการยกร่างพระราชบัญญัติฯ ให้มีบทบัญญัติในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศแก่ผู้รับบริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย โดยใช้กลไกการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยแต่ผู้เขียนมีความเห็นว่ากลไกการจดทะเบียนภาษียังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีกับผู้ให้บริการออนไลน์ที่อยู่นอกประเทศไทยได้อย่างแท้จริง ดังนั้น รัฐควรแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้จากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติ โดยนำมาตรการทางภาษี Equalisation Levy มาใช้เพื่อทำให้เกิดความเสมอภาคสำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทย ซึ่งมาตรการดังกล่าวยังเป็นแนวทางการแก้ไขการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ของธุรกิจดิจิทัลตามหลักขององค์การเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) เพื่อให้มั่นใจว่ากำไรที่เกิดขึ้นในทุกที่ในโลกต้องมีการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง กรณีธุรกรรมระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภคควรแก้ไขโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้รับบริการที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นแรงจูงใจในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการนำส่งภาษีภาษีให้กับรัฐโดยตัวกลางทางการเงิน จะช่วยแก้ไขปัญหาจากการไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติได้ตามร่างพระราชบัญญัติฯ และแก้ไขปัญหาการเกิดช่องว่างทางกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เงินที่เป็นรายได้ของรัฐบาลไหลออกนอกประเทศจำนวนมาก รวมถึงปัญหาความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการในประเทศไทยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.37-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีเงินได้en_US
dc.subjectการตรวจสอบภาษีอากรen_US
dc.titleมาตรการในการจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติ : วิเคราะห์ความเหมาะสมในการนำมาใช้สำหรับประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorTashmai.R@chula.ac.th-
dc.subject.keywordมาตรการทางภาษีen_US
dc.subject.keywordการตลาดดิจิทัลen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.37-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61865 34.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.