Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61068
Title: สภาพการอยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์พักอาศัยตามแนวถนนสายหลักของเมือง : กรณีศึกษา ถนนเอกชัย จังหวัดสมุทรสาคร
Other Titles: Living conditions in shophouse buildings along a main road : a case study of Ekkchai road Samut Sakhon province
Authors: ชินดนัย เลาหกิจวิฑูร
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya.p@chula.ac.th
Subjects: ตึกแถว -- ไทย -- สมุทรสาคร
อาคารอเนกประสงค์ -- ไทย -- สมุทรสาคร
ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- สมุทรสาคร
ถนนเอกชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)
Shophouses -- Thailand -- Samut Sakhon
Multipurpose buildings -- Thailand -- Samut Sakhon
Dwellings -- Thailand -- Samut Sakhon
Ekkchai road (Samut Sakhon)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อาคารพาณิชย์พักอาศัยเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีความสำคัญในเชิงอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยปัจจุบันอาคารพาณิชย์พัก อาศัยได้ขยายตัวออกจากกรุงเทพมหานครไปตามแนวถนนสายหลักสู่จังหวัดปริมณฑลข้างเคียงเป็นจำนวนมาก จังหวัดสมุทรสาครเป็น จังหวัดที่มีการขยายตัวของอาคารพาณิชย์พักอาศัย ในอัตราสูงเมื่อเทียบ4 จังหวัดปริมณฑล ถนนเอกชัยเป็นถนนสายหลักสำคัญที่ เชื่อมกรุงเทพฯกับสมุทรสาคร และเป็นเส้นทางที่จะมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ การอยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์พักอาศัยที่ตั้งอยู่ตามแนวถนนเอกชัย จังหวัดสมุทรสาคร โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพของอาคาร สถานะทางเศรษฐกิจสังคมและสภาพการอยู่อาศัยของอยู่อาศัยศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาที่อยู่ อาศัยในอาคารพาณิชย์พักอาศัย โดยสำรวจอาคารพาณิชย์123 ห้องสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้อยู่อาศัย57ตัวอย่าง และสำรวจอย่าง ละเอียด8 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ศึกษาตามแนวถนนเอกชัยมีอาคารพาณิชย์พักอาศัยทั้งหมด 123 ห้อง มีการอยู่อาศัย 81 ห้อง (ร้อยละ 66.7)แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ(1) ประเภทเจ้าของอยู่อาศัยเองทั้งหลังมี 36ห้องโดยผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ เป็นเจ้าของกิจการ ประกอบกิจการส่วนตัวบริเวณชั้นล่างของอาคารพาณิชย์พักอาศัย มีรายได้สูง มีสมาชิกครอบครัว 3-4 คน มีสภาพการอยู่อาศัยที่ดี ถูก สุขลักษณะและมีคุณภาพ ผู้อยู่อาศัยจะอยู่อาศัยกันเป็นครอบครัว บริเวณชั้น 2 ของอาคาร ส่วนอาคารชั้น 3 และ 4 มักปล่อยว่างไม่ค่อย มีการใช้งาน ซึ่งเป็นการเสียพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์(2) ประเภทเจ้าของและลูกจ้างพักอาศัยร่วมกัน มี35ห้องผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็น เจ้าของกิจการ ประกอบกิจการส่วนตัวบริเวณชั้นล่างของอาคาร ส่วนใหญ่เป็นกิจการที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ส่วน ใหญ่มีรายได้สูง มีสมาชิกครอบครัว 2-3 คน มี สภาพการอยู่อาศัยที่ดี ถูกสุขลักษณะและมีคุณภาพ ผู้อยู่อาศัยจะอยู่อาศัยกันเป็น ครอบครัว บริเวณชั้น 2 ของอาคารโดยมีลูกจ้างพักอาศัยอยู่ด้วยบริเวณชั้น 3 และ 4 (3) ประเภทลูกจ้างพักอาศัย มี 7ห้อง ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทำงานประจำ ในที่เดียวกับที่พักอาศัยซึ่งเป็นกิจการที่ต้องการแรงงานมาก เช่น อู่ซ่อมรถยนต์ โดยมีการแบ่งที่อยู่ อาศัยตามระดับของลูกจ้าง ลูกจ้างเก่าแก่ซึ่งเจ้าของให้เป็นผู้ดูแลกิจการ จะให้อยู่อาศัยบริเวณชั้น 2 ของอาคารโดยแบ่งเป็นห้องๆ ให้อยู่ ห้องละครอบครัว ส่วนใหญ่มีสมาชิกครอบครัว 3-4 คน มีรายได้น้อย มีสภาพการอยู่อาศัยปานกลาง ไม่ถูกสุขลักษณะและคุณภาพไม่ดี ส่วนลูกจ้างใหม่อยู่อาศัยบริเวณชั้น 3 และ 4 ของอาคาร อยู่รวมกัน3-5 คน โดยไม่มีการแบ่งห้อง พื้นที่พักอาศัยเพียงพอแต่ขาดความเป็น ส่วนตัว ห้องน้ำ-ส้วมไม่เพียงพอ และ (4) ประเภทให้ผู้อื่นเช่าพักอาศัยมี 3ห้องผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทำงานประจำ ในบริเวณ ใกล้เคียงกับที่พักอาศัย ส่วนใหญ่มีรายได้น้อย มีสมาชิกครอบครัว 1-7 คน มีสภาพการอยู่อาศัยไม่ดี ไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดคุณภาพและ ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการเช่าเป็นห้องพักอาศัยสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก1-3 คนและการเช่าอยู่ทั้งชั้น อยู่กันเป็น ครอบครัว 4-7 คน พื้นทีพักอาศัยไม่เพียงพอขาดความเป็นส่วนตัว ห้องน้ำ-ส้วมไม่เพียงพอ จึงเป็นประเภทที่มีปัญหาที่อยู่อาศัยมากที่สุด ข้อเสนอแนะคือในระยะสั้นควรมีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้สะอาด ถูกสุขลักษณะปลอดภัย โดยเจ้าของอาคารและผู้ดูแล ควรเข้ามาดูแล ปรับปรุงกายภาพและจัดการการใช้พื้นที่ รวมทั้งออกกฎในการใช้พื้นที่ ภาครัฐควรมีส่วนในการให้แรงจูงใจ และกำกับ ดูแล ตรวจสอบอาคารทุกปี เพื่อให้การใช้อาคารไม่ก่อให้เกิดอันตราย ไม่ปล่อยอาคารให้ทรุดโทรม ซึ่งส่งผลต่อทั้งผู้อยู่อาศัย ส่งผล กระทบต่อชุมชนและเมือง และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางในการวางแผน พัฒนาอาคารพาณิชย์พักอาศัยต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61068
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1642
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1642
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chindanai Laohakitvitoon.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.