Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61074
Title: การนำวิธีเกณฑ์เงินสดมาใช้ในการบันทึกบัญชีเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัทจำกัดคนเดียว
Authors: พรรณี เจริญสมบัติอมร
Advisors: กาญจนา นิมมานเหมินท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: บริษัท--การสอบบัญชี
ผู้สอบบัญชี
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับหลักการจัดทำบัญชีตามเกณฑ์เงินสดของประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับกิจการขนาดเล็ก เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาแนวทางเพื่อใช้แทนเกณฑ์คงค้างทางบัญชีที่ประเทศไทยใช้อยู่ในขณะนี้ จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันนี้เกณฑ์ในการจัดทำบัญชีเพื่อนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะต้องใช้เกณฑ์คงค้าง แต่ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อเสียภาษีจะต้องใช้เกณฑ์สิทธิตามประมวลรัษฎากร ซึ่งทั้งสองเกณฑ์นี้มีความซับซ้อน มีข้อกำหนดเฉพาะเรื่องเป็นจำนวนมาก และบังคับใช้กับทั้งกิจการขนาดใหญ่และกิจการขนาดเล็ก ซึ่งได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและอาจรวมถึงบริษัทจำกัดคนเดียวหมากมีการประกาศใช้กฎหมายในอนาคต อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัทจำกัดคนเดียวที่ผู้ประกอบการอาจไม่มีความรู้ความสามารถด้านการบัญชี และการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นในการจัดหาผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ซึ่งเป็นผลให้ผู้ประกอบการไม่เข้าจดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาผู้ทำและผู้สอบบัญชี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาจะพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มทางเลือกให้แก่กิจการขนาดเล็กในการนำวิธีเกณฑ์เงินสดในการจัดทำบัญชีได้ซึ่งเป็นแนวทางที่ง่ายต่อการจัดทำ ลดอุปสรรคในด้านการศึกษาทำความเข้าใจเรื่องการบันทึกบัญชี ลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาผู้ทำและผู้สอบบัญชี ลดโอกาสที่เอกสารการบันทึกบัญชีจะสูญหายและโอกาสในการเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานของรัฐด้วยเหตุนี้การนำวิธีเกณฑ์เงินสดมาใช้ในการบันทึกบัญชีจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้กับประเทศไทยเพื่อลดอุปสรรคของผู้ประกอบการขนาดเล็กในการเข้าจดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคลอันจะเป็นผลให้ผู้ประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัทจำกัดคนเดียวได้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำลง ทำให้ภาครัฐมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นและจัดเก็บภาษีได้เพิ่มมากขึ้นในท้ายที่สุด
Description: เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61074
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.21
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.21
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62196 34.pdf902.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.