Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61091
Title: มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech : กรณีศึกษา Peer-to-Peer Lending
Authors: สุชาดา เม้ยมิ่ง
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ธนาคารและการธนาคาร
สถาบันการเงิน -- การจัดการ
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ในประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพโดย การศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับความเป็นมา ขั้นตอนและ กระบวนการของธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending มาตรการในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งปัญหา ข้อจำกัด และผล กระทบของธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ในด้านคุณลักษณะของธุรกิจ และในด้าน ของการบังคับใช้กฎหมายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในปัจจุบันของประเทศไทยที่มีต่อธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ศึกษารวบรวมมาวิเคราะห์และ สังเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบระหว่างมาตรการในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to- Peer Lending ในประเทศสหรัฐอเมริกา กับกฎหมายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในปัจจุบันของ ประเทศไทย เพื่อหามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ซึ่งจะสามารถใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการช่วยลด หรือ บรรเทาปัญหาข้อจำกัด และ ผลกระทบของธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ได้จากผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจ Fintech แบบ Peer-to-Peer Lending เป็นธุรกิจแตกต่างจากการให้กู้ยืม โดยสถาบันการเงินปกติ กล่าวคือ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าวจะไม่ใช่เงินทุนของตัวเองในการปล่อยกู้ แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ขอกู้และผู้ให้กู้ (นักลงทุน)ทำให้ผู้ขอกู้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น เช่นเดียวกับนักลงทุนที่มีทางเลือกในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ธุรกิจดังกล่าวเป็นที่ได้รับความนิยมจากหลายๆประเทศ แต่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีการอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจ ในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากอยู่ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาหาแนวทางในการกำกับดูแลธุรกิจนี้ ซึ่งหากไม่มีแนวทางในการกำกับดูแลอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาจเกิดหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการกู้ยืม รวมถึงธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัย เช่น การฟอกเงิน เป็นต้น เมื่อธุรกิจ Fintech แบบ Peerto-Peer Lending ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการควบคุมธุรกิจนี้ จึงอาจทำให้เกิดช่องว่างในการดำเนินธุรกิจ Fintech แบบ Peer-to-Peer Lending ได้ โดยผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจ Fintech แบบ Peer-to-Peer Lending ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศแรกๆที่อนุญาตให้มีการจัดตั้งให้ดำเนินธุรกิจดังกล่าวได้ ได้มีการจัดประชุมร่วมกันของหลายๆหน่วยงาน เพื่อหามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจ Fintechแบบ Peer-to-Peer Lending ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายปัจจุบันของประเทศไทยแล้ว ผู้วิจัยจึงได้เสนอ 3 มาตรการ คือ 1.มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการทำธุรกิจ Fintech แบบ Peer-to-Peer Lending 2.มาตรการทางแพ่ง และ 3.มาตรการทางอาญา ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะรองรับนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลโดยเฉพาะ เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจและช่วยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินธุรกิจ Fintech แบบ Peer-to-Peer Lending
Description: เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61091
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.51
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.51
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62625 34.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.