Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61165
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชญา สิทธิพันธุ์-
dc.contributor.authorสมฤทัย นทีพายัพทิศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-01-29T08:38:01Z-
dc.date.available2019-01-29T08:38:01Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61165-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว น้ำมันขึ้นราคา เงินบาทแข็งตัวส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวและพักโรงแรม กรุงเทพมหานครมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ และการท่องเที่ยวหลักของเมืองไทยได้รับผลกระทบโดยส่งให้รูปแบบของโรงแรมถูกปรับตามกระแสนิยมโรงแรมขนาดเล็ก ที่มีความมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกเทียบเคียงมาตรฐาน 3 ดาว ผู้ประกอบการโรงแรมเพิ่มขีดจำกัดความสามารถเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ มีความคล่องตัวในการลงทุน เกิดเป็นแนวคิด “The Best Out Of Small Space” ที่ตั้งของโรงแรมจะอยู่ในบริเวณแหล่งธุรกิจ ท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครที่มีความสะดวกสบาย รวดเร็วในการเดินทางสู่สถานที่สำคัญด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน แต่เนื่องจากทำเลในเมืองมีจำกัด มีสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว จึงไม่มีที่ดินเปล่าให้พัฒนาโครงการ นักลงทุนจึงเลือกเอาตึกแถวมาปรับเปลี่ยนเป็นอาคารประกอบการโรงแรม เพราะนอกจากมีที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ ท่องเที่ยวแล้วยังลดต้นทุนการก่อสร้าง และลดระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการซึ่งจำอำนวยผลด้านการเงิน ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นโรงแรม จำเป็น ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อนการลงทุน ทั้งทางด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการเงินการลงทุน และด้านบริหารจัดการ เพื่อประเมิน ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาที่น่าศึกษาว่า ตึกแถวลักษณะใดที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นโรงแรมได้ และมีการศึกษาความเป็นไปได้อย่างไร และมีแนวทางการดำเนินโครงการอย่างไร วิธีการศึกษาโดยการสำรวจ และสัมภาษณ์เจ้าของ, ผู้บริหารโรงแรม, ผู้จัดการโรงแรมที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ นำมาวิเคราะห์ตามทฤษฏีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและแนวความคิดอื่นที่เกี่ยวข้อง และสรุปผลการศึกษาได้ว่าตึกแถวที่มีความเหมาะสมกับการปรับเปลี่ยนต้องเป็นตึกแถวที่มีขนาด 2 คูหา ขึ้นไป ความกว้างคูหาโดยทั่วไป ประมาณ 4 เมตรหรือมากกว่า มีความลึก 12 – 16 เมตร จำนวนชั้นที่เหมาะสม 4 ชั้นขึ้นไปและมีดาดฟ้า มีอายุอาคารคงเหลือมากว่าระยะเวลาโครงการ โรงแรมควรตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายโครงการ ที่ตั้งอาคารอยู่ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถไฟฟ้าใต้ดินคือไม่ห่างเกิน 600 เมตรหรือหากโรงแรมอยู่ไกลกว่า จะมีรถรับส่งไปยังสถานีรถไฟฟ้า ขนาดของห้องพัก 18 – 22 ตร.ม.และเพิ่มพื้นที่อาคารขึ้นด้วยการต่อเติมดาดฟ้า ชั้นลอย หรือกันสาดอาคาร ย้ายบันไดเพื่อปรับการสัญจรในอาคาร ในการปรับเปลี่ยนและการต่อเติมอาคารนั้นเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคารประเภทอาคารพณิชย์พักอาศัย สำหรับระบบความปลอดภัยในอาคารที่เตรียมไว้ ประกอบด้วยสัญญาณเตือนเมื่อเกิดเพลิงไม้ และเครื่องดับเพลิงมือถือ และระบบทางหนีไฟรวมถึงป้ายบอกทางหนีไฟ และผู้ลงทุนต้องวิเคราะห์ทางด้านการตลาดควบคู่ไปด้วย ได้แก่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายโครงการคือนักท่องเที่ยว หรือนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวประเภท MICE ที่ต้องการความสะดวกในการเดินทาง และวิเคราะห์คู่แข่ง เพื่อกำหนดรูปแบบของโรงแรม และประเภทห้องพัก และกำหนดราคา ด้านการเงิน ตัวแปรหลัก คือ ต้นทุนในโครงการ ซึ่งค่าการลงทุนด้านอาคารและที่ดิน ได้แก่การเช่าระยะสั้น, การเช่าระยะยาว การซื้ออาคาร และเป็นเจ้าของอาคารเดิมซึ่งจะต่างกันที่จำนวนและรูปแบบเงินลงทุน และตัวแปรค่าปรับปรุง ตบแต่งอาคาร ด้านการบริหารจัดการส่วนใหญ่ เป็นโครงการขนาดเล็กเจ้าของโครงการบริหารเอง มีจำนวนพนักงาน 10 คนเป็นอย่างต่ำขึ้นอยู่กับจำนวนห้องพัก การวางแผนด้านการบริหารเป็นการวางแผนด้านการใช้พื้นที่ และเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeThe slowing economy, higher oil prices and strong baht have affected the Thai tourism industry. As a result, most tourists have economized their travel and accommodation budget. Seeing that Bangkok has a potential as a center for both business and tourism, some entrepreneurs have invested in the hotel business. However, with limited space, it is difficult to obtain an empty plot of land in Bangkok on which to build a hotel. As a result, ‘The Best Out Of Small Space’ concept has been promoted. The idea is that a shop-house can be transformed into a 3-star hotel located near tourist attractions and be reachable by mass transport systems such as the BTS or MRT. Entrepreneurs choose shop-houses because they are located in tourist areas, construction costs are low and the construction timeframe is short, resulting in saving more money. In order to transform a shop-house into a hotel, a feasibility study concerning marketing, techniques, budget and management has to be conducted to assess the cost-effectiveness of the investment. Consequently, it is essential to study which type of shop-houses can be adapted into hotels, how the feasibility study of such a project should be conducted and what guidelines should be used to carry out the project. The methodology consist of literature review and surveying, observation and interviewing hotel manager, hotel executives, hotel manager in the sample group. it was found that the ideal shop-house to be adapted into a hotel had to be a shop-house with at least 2 stories and being at least 4 meters wide and 12 -16 meters long. The ideal shop-house was a 4-story shop-house with a rooftop and which had a functional life longer than the project. The adapted building should be located not farther than 600 meters away from the BTS or MRT. If it is farther than that, transportation to the BTS or MRT ought to be provided. Each room should be 18 – 22sq.m. The hotel area can be expanded by extending the rooftop, adding a mezzanine or building shades. Stairways can be moved to facilitate transportation inside the building. The adaption of the building must follow laws concerning residential – commercial buildings. The security system should include fire alarms, hand-held fire extinguishers and fire escape routes. According to the feasibility study, investors need to analyze the target group of tourists and competitors in order to determine the size of the hotel, the types of rooms, marketing and pricing. The main variables concerning investment were the cost of building investment – short-term lease, long-term lease, or buying and owning the building. These variables also differentiate the amount of money to be invested. And the cost of building remodeling and decoration. There are three types of the investment return has to be thoroughly calculated before the launch of the project. As for management, since most hotels are small, the project owners are usually the hotel managers employing at least 10 employees. The administrative planning focuses on the function of the area to be used in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1652-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาคาร -- การดัดแปลงการใช้งานen_US
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- การปรับปรุงen_US
dc.subjectตึกแถว -- การดัดแปลงการใช้งานen_US
dc.subjectBuildings -- Remodeling for other useen_US
dc.subjectShophouses -- Remodeling for other useen_US
dc.subjectDwellings -- Remodelingen_US
dc.titleหลักการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการปรับเปลี่ยนตึกแถวให้เป็นอาคารประกอบการโรงแรม ในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFeasibility study of shop-house building conversion to a city hotel business building located in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPreechaya.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1652-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somruedaii Nathibayapthis.pdf9.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.