Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/611
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนการใช้บรรจุสินค้าเพื่อการตั้งราคาสำหรับกิจการเดินเรือสินค้า : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Cost analysis of the container usage for liner-service pricing
Authors: วันเพ็ญ กฤตผล
จินตนา บุญบงการ
ดนุชา คุณพนิชกิจ
Email: fcomwkt@phoenix.acc.chula.ac.th
fcomcbb@acc.chula.ac.th
Danuja@.acc.chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาพาณิชยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการบัญชี
Subjects: การท่าเรือแห่งประเทศไทย
ระบบขนส่งคอนเทนเนอร์
สินค้า--การขนส่ง
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง "การวิเคราะห์ต้นทุนการใช้ตู้บรรจุสินค้าเพื่อการตั้งราคาสำหรับกิจการเดินเรือสินค้า" ได้ทำการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูม โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทำการรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ บริษัทเรือ ผู้นำเข้าและส่งออก อีกทั้งออกแบบสอบถามเพื่อยืนยันข้อสัมภาษณ์ และนำข้ำมูลมาทำการวิเคราะห์ต้นทุน จากการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการใช้ตู้บรรจุสินค้าอาจแบ่งได้เป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ 1. ประสิทธิภาพของท่าเรือกรุงเทพฯ 2. ปัญหาด้านการจราจร ต้นทุนการใช้ตู้บรรจุสินค้าอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวข้องกับตัวเรือโดยตรง ซึ่งคำนวณได้จากค่าใช้จ่ายส่วนที่จ่ายให้ทางท่าเรือรวมกับค่าใช้จ่ายส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการบนเรือที่ท่าเรือ 2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ตู้บรรจุสินค้าด้านการนำเข้า 3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ตู้บรรจุสินค้าด้านการส่งออก ซึ่งสรุปเป็นค่าใช้จ่ายโดยประมาณเกี่ยวกับการใช้ตู้บรรจุสินค้า 1 ตู้ใน 1 วงจร (นำเข้าและส่งออก) โดยสมมติระยะเวลาโดยประมาณเป็น 10 วัน) ได้ดังนี้ 1. ขนาด 20 ฟุต กรณีไว้ที่ CY liner ค่า FCL เป็น 352.72 บาทต่อตัน ค่า LCL 330.22 บาทต่อตัน 2. ขนาด 40 ฟุต กรณีไว้ CY liner ค่า FCL 434.15 บาทต่อตัน ค่า LCL 498.48 บาทต่อตัน กรณี C.F.S. ขาเข้ามา C.F.S. ขาออกเลย ค่า FCL 423.28 บาทต่อตัน ค่า LCL 487.61 บาทต่อตัน นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากความแออัดหน้าท่าด้วย เพื่อลดต้นทุนการใช้ตู้บรรจุสินค้าลง ผู้วิจัยได้เสนอแนะวิธีการ 3 ประการ คือ 1. ให้บริษัทเรือมีสถานที่บรรจุสินค้าของตนเอง 2. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมตู้บรรจุสินค้า 3. ควบคุมระบบการจ่ายเงินที่ไม่ใช่อัตราทางการหรืออัตราใต้โต๊ะ
Other Abstract: This research--"Cost Analysis of The Container Usage for Liner-Service Pricing" -- uses both primary and secondary data. Relevant documents and data from interviewing are gather and uses in the analysis. It is found from the research that there are two main factors affecting the cost of the container usage, namely: the efficient of the Post Authority of Thailand; and the traffic problem. Also, the cost of the container usage can be divided into three parts as follows: 1. Cost involving directly to the containship which is composed of two parts: cost or expense that has to be paid to the Port and operating cost on board. 2.Cost involving container usage for importer. 3. Cost involvinh container usage for exporter. In summary, estimated container-usage cost for one container during one cycle (approximately 10 days) is as follows: 1. 20-Foot Size: Keep at CY Liner 352.72 Baht/Ton (FCL) 330.20 Baht/Ton (LCL) C.F.S. Import to C.F.S. Export 359.24 Baht-Ton 323.70 Baht/Ton (LCL) 2. 40-Foot Size: Keep at CY Liner 434.15 Baht/Ton (FCL) 498.48 Baht/Ton (LCL) C.F.S. Import to C.F.S. Export 423.28 Baht/Ton (FCL) 487.61 Baht/Ton (LCL). Besides above cost, additional expenses are occurred as a result of port jam. In order to reduce container-usage cost, researchers suggest three methods as follows: 1. Liners should have their own container freight station. 2. Control center by Computer should be implemented. 3. Reduction of T-money rate should be concerned.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/611
Type: Technical Report
Appears in Collections:Acctn - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanpen_containerusage.pdf15.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.