Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61274
Title: ผลของการฝึกโปรแกรมทักษะทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการด้านลบเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามปกติ
Other Titles: Effect of social skill training program on schizophrenia patients with negative symptoms compare with treatment as usual.
Authors: ศิริลักษณ์ ปรมะ
Advisors: โชติมันต์ ชินวรารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chotiman.C@chula.ac.th,Chotiman.C@chula.ac.th
Subjects: จิตเภท -- ผู้ป่วย
ทักษะทางสังคม
Schizophrenia -- Patients
Social skills
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental study) แบบ Randomized Control Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางด้านลบ ที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการด้านลบจำนวน 23 คน แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่าย ในกลุ่มทดลองผู้ป่วยได้รับการฝึกโปรแกรมทักษะทางสังคม จำนวน  8 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาตามปกติ จำนวน 15 คน โดยใช้เครื่องมือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินทางจิต Positive and Negative Syndrome Scale (PANSS – T) 3) แบบประเมินทักษะการทำหน้าที่ทางสังคม 4) โปรแกรมทักษะทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าคะแนนทดสอบทักษะทางสังคมในผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม (ค่าเฉลี่ยค่าคะแนนการทำหน้าที่ทักษะทางสังคมกลุ่มทดลอง ก่อนทดลอง = 96.5 หลังทดลอง = 117.88 กับ กลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง = 129.67 หลังทดลอง = 122.93, P<0.05)  2)   ค่าคะแนนทดสอบทักษะทางสังคมในผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกโปรแกรมทักษะทางสังคม (ค่าเฉลี่ยค่าคะแนนการทำหน้าที่ทักษะทางสังคมกลุ่มทดลอง ก่อนทดลอง = 96.5 หลังทดลอง = 117.88, P<0.05) แต่ไม่พบผลดังกล่าวในกลุ่มควบคุม  
Other Abstract: This experimental study was a randomized control study. The purpose of this research were study the effectiveness of the social skill training program in schizophrenia patients with negative symptoms who received services in outpatient psychiatry department King Chulalongkorn Memorial Hospital. The sample included 23 of schizophrenia were randomly assigned to intervention group who received intensive social skill training group  8 members (SST) and  15 members in control group who received treatment as usual (TAU). Research instrument 1) Demographic data record form 2) Positive and Negative Syndrome Scale – T 3) The social functional scale and 4) Social skill training program. The results showed 1) Patients in intervention group improved performance significantly better than the patients in control group at (SFS score: intervention group pre-test = 96.5, post-test = 117.88 vs control group pre-test = 129.67, post-test= 122.93, P<0.05) 2) The patient in intervention group improved significantly in social skill functional from pre – post test (SFS score: intervention group pre-test = 96.5, post-test = 117.88) whereas individual TAU did not.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61274
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1435
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1435
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874070230.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.