Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6131
Title: ผลของตัวกรองชีวภาพต่อคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาทับทิม Oreochromis niloticus ระบบปิดในบ่อดิน
Other Titles: Effect of biofilter on water quality in tabtim fish Oreochromis niloticus closed culture pond
Authors: มุทิตา วุฒิกัมพล
Advisors: เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
สรวิศ เผ่าทองศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: piamsak@sc.chula.ac.th
Sorawit.P@chula.ac.th
Subjects: ปลาทับทิม
คุณภาพน้ำ
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกรอง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการใช้ตัวกรองชีวภาพที่มีลักษณะเป็นเส้นใยพลาสติกสานเป็นรูปท่อ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.5 ซม. ในบ่อเลี้ยงปลาทับทิมขนาด 30x30x1.2 เมตร จังหวัดปทุมธานี โดยจัดให้มีบ่อควบคุมที่มีการเติมอากาศผ่านสายยางพลาสติก ที่วางพาดจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังฝั่งตรงข้าม ตลอดระยะความยาวของบ่อเป็นแถวขนานกันจำนวน 10 แถว เป่าอากาศผ่านหัวทรายเติมอากาศที่ต่ออยู่กับสายท่ออากาศทุกๆ ระยะ 1.5 เมตร โดยที่หัวทรายทุกหัวจะถูกต่อท่อให้หย่อนลงไปในน้ำที่ระดับความลึกประมาณ 30 ซม. สำหรับบ่อชุดทดลองจะมีระบบเติมอากาศแบบเดียวกับบ่อชุดควบคุมทุกประการ แต่จะมีการผูกตัวกรองชีวภาพที่มีความยาวเส้นละ 27 ม. กับไม้ไผ่ที่ปักอยู่เป็นแนว เพื่อตรึงให้ตัวกรองจมลงใต้ระดับผิวน้ำประมาณ 10 ซม. จัดเป็น 10 แถว วางตัวขนานในแนวเดียวกับท่อเติมอากาศ และจัดแนวให้ฟองอากาศที่พ่นออกมาจากหัวทรายขึ้นผ่านที่ตัวกรองชีวภาพ ปล่อยปลาทับทิมน้ำหนักเริ่มต้นตัวละ 5.9 กรัม ความหนาแน่น 11 ตัว/ตารางเมตร ลงเลี้ยงในบ่อทดลองทั้งสองบ่อ มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ (สารอาหาร พีเอช ออกซิเจนละลายน้ำ อัลคาลินิตี บีโอดี ความโปร่งแสงของน้ำ คลอโรฟิลล์-เอ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์) ทุก 2 สัปดาห์ และสุ่มชั่งวัดปลาทุก 4 สัปดาห์ตลอดระยะเวลาทดลอง 140 วัน ผลการทดลองพบว่าตัวกรองชีวภาพสามารถช่วยลดแอมโมเนียในน้ำของบ่อทดลอง ทำให้ปริมาณแอมโมเนียในบ่อชุดทดลองต่ำกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.05) ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการไนตริฟิเคชัน (nitrification) แต่ประสิทธิภาพของตัวกรองยังไม่เพียงพอที่จะบำบัดแอมโมเนียทั้งหมดที่เกิดขึ้นในบ่อ ส่วนคุณภาพน้ำอื่นๆ ของทั้งสองบ่ออยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลผลิตปลาทับทิมที่ได้จากบ่อทดลองทั้งสองบ่อไม่แตกต่างกัน โดยได้ผลผลิตปลาในบ่อทดลอง 4,320 กิโลกรัม/ไร่ และในบ่อควบคุม 4,368 กิโลกรัม/ไร่ อัตราแลกเนื้อในบ่อทดลองเป็น 1.27 และในบ่อควบคุมเป็น 1.24
Other Abstract: To investigate the efficiency of cylinder-shape (12.5 cm diameter)plastic fibrous biofilter for water quality control in Tabtim (Red Tilapia) fish pond. Two earth ponds, 30x30 sq.m with 1.2 m depth located in Phatumthani Province were used in this experiment. Tabtim fish, 5.9 g initial weight at 11 fishes/sq.m stocking density were cultured for 140 days. Both ponds had similar aeration system that consisted of 10 parallel rows of PE air ducts. Air was bubbles through series of hanging air-stones (30 cm depth) every 1.5 m of each air duct. In treatment pond, 10 row of biofilter tubes ( 27 m in length) clinging to bamboo poles, were lined in 10 rows at approximately 10 cm below water surface. Water quality (nitrogen and phosphorus nutrient, pH, dissolved oxygen, alkalinity, BOD, COD, transparency, chlorophyll- a, phytoplankton and zooplankton) was monitored every 2 weeks. Fish growth was measured every 4 weeks. It was found that biofilter significantly reduced (p<0.05) ammonium concentration in a treatment pond through nitrification process. However, efficiency of the biofilter was still not enough for removing the total ammonium produced in the pond. Other water quality parameters were in acceptable range for fish culture and no differences were observed for those parameters between control and treatment ponds. Fish yield, 2.73 kg/sq.m and 2.70 kg/sq.m and FCR, 1.24 and 1.27 of control and treatment ponds are not significant difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6131
ISBN: 9741741987
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mutita.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.