Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6137
Title: | การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อรณรงค์ปัญหาเอดส์ ใน อ.เมือง จ.เชียงราย |
Other Titles: | AIDS campaign in Muang District, Chiang Rai : a community participatory approach |
Authors: | วิภาวี ริ้วสุวรรณ |
Advisors: | กิตติ กันภัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kitti.G@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน โรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาศักยภาพของชุมชนในการรณรงค์แก้ไขปัญหาเอดส์ การสื่อสารในชุมชนที่สัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาเอดส์ รวมทั้งศึกษากระบวนการสื่อสารรณรงค์แบบบูรณาการ เพื่อจัดการกับปัญหาเอดส์ในชุมชน การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตการณ์ภาคสนาม การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) และการวิจัยเชิงประเมินผล โดยศึกษาชุมชนบ้านเวียงกลาง หมู่ที่ 21 ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านเวียงกลาง หมู่ที่ 21 มีศักยภาพในการดำเนินงานรณรงค์แก้ไขปัญหาเอดส์ เนื่องจากมีองค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน ซึ่งได้แก่ 1) ความเข้มแข็งและความพร้อมของกลุ่มผู้นำ ในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหา 2) ความต้องการของสมาชิกในชุมชนที่ต้องการให้เกิด กระบวนการรณรงค์แก้ไขปัญหาเอดส์ขึ้นในชุมชน 3) ความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในชุมชน ที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการรณรงค์แก้ไขปัญหาเอดส์ได้เป็นอย่างดี การศึกษาการสื่อสารในชุมชนที่สัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาเอดส์ พบว่าการสื่อสารส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการพูดคุยบอกกล่าวกันระหว่างคนในชุมชน ทั้งในลักษณะทีเล่นทีจริงในกรณีที่เป็นเพื่อนในกลุ่มเดียวกัน และในลักษณะว่ากล่าวตักเตือนในกรณีระหว่างผู้ใหญ่กับเยาวชนหรือบุตรหลาน นอกจากนี้จะเป็นในรูปแบบการสื่อสารผ่านเสียงตามสาย ของทางเจ้าหน้าที่อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) เกี่ยวกับข่าวสารโรคเอดส์ที่ได้รับมาจากทางสถานีอนามัย รวมถึงการสื่อสารจากสื่อมวลชน ได้แก่ โทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งข่าวสารเอดส์จากเสียงตามสายและสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์นั้น มักเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับกระบวนการสื่อสารรณรงค์แบบบูรณาการเพื่อจัดการกับปัญหาเอดส์ในชุมชน พบว่าการสื่อสารรณรงค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน สามารถแก้ไขปัญหาเอดส์ได้ดีกว่า การดำเนินงานของหน่วยงานภายนอกชุมชนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากสามารถเข้าถึงคนในชุมชนได้มากกว่า ทำให้สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันให้แก่คนในชุมชนได้ดีกว่า มีความต่อเนื่องเกิดการกระตุ้นย้ำเตือนให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาเอดส์อยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตาม การสื่อสารรณรงค์โรคเอดส์จะเกิดผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี ย่อมต้องอาศัยการดำเนินงานทั้งหน่วยงานภายนอก และการดำเนินงานของคนในชุมชนร่วมกัน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเอดส์เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด |
Other Abstract: | To study the potential of communities to tackle AIDS problem and also the integrative process of communications for resolving AIDS problem in a community. The methodology of this research is a qualitative research, employing in-depth interview, field observation, participatory action process and evaluative methods. The community of Ban ViengKlang community in Muang District of Chiang Rai province is the main area of study. The study found that Ban ViengKlang community has potential to plan and run a campaign for resolving AIDS problem regarding 3 main factors as follows 1. Strength and readiness of local leaders to help and support for resolving problem. 2. The intention of community's members to create a campaign process for tackling AIDS problem. 3. Good relationship among community's members that lead to right cooperation to resolve AIDS problem. The studying of communications inside a community which relate to AIDS problem resolution found that most of its communication process is interpersonal communication among villagers. The conversations are both informal talks among friends and the caution from adult to youth. Furthermore, the communication is also broadcasting via local wired radio run by village's health care volunteers. The messages from those medium are about AIDS-related news from local government health center and also from the mass media both from television and radio. However, information about AIDS from local wired radio and television are less appearance. For the integrative communication process to tackling AIDS problem in the community, the research found that campaigns which members of community took part can resolve AIDS problem better than organizations from outside community did alone. Since the members can better access their community, so the knowledge and understanding building in the community are more proper and able to stimulate people to aware of AIDS problem consistantly, too. However, AIDS communication campaigns can not be successful and fruitful unless cooperation between outside organizations and members of community exists. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6137 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.953 |
ISBN: | 9741747489 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.953 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wipawee.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.