Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61439
Title: | แนวทางการจัดการการใช้พื้นที่ด้วยการบูรณาการข้อมูลภูมิสารสนเทศกับกระบวนการมีส่วนร่วมในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
Other Titles: | Land use management approach by integrating geoinformatics and participatory process in Sathingphra district, Songkhla province, Thailand |
Authors: | กีรติ วานิช |
Advisors: | พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การใช้ที่ดิน -- ไทย -- สงขลา ภูมิสารสนเทศศาสตร์ ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน Land use -- Thailand -- Songkha Geoinformatics Environmental geography Environmental management -- Citizen participation |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินหลากหลายประเภทและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยปัจจัยทางธรรมชาติ เศรษฐกิจและนโยบายภาครัฐ ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้น การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงบูรณาการ โดยเลือกพื้นที่ศึกษาได้แก่ ตำบลท่าหิน บ่อแดงและวัดจันทร์เนื่องจากมีกิจกรรมทางการเกษตรที่หลากหลายที่สุดในอำเภอสทิงพระ มีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางการจัดการพื้นที่ด้วยการบูรณาการข้อมูลภูมิสารสนเทศ แบบจำลองเพื่อการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วม การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ศึกษาในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2558) โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเชิงลึก 2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ 3) สร้างและใช้แบบจำลองเชิงบูรณาการระบบนิเวศ-เศรษฐกิจ-สังคมและข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ในระบบ และหาแนวทางการจัดการพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา นาข้าวมีขนาดพื้นที่ลดลงมากที่สุด โดยถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่หมู่บ้านและสวนไม้เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีโครงการสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันจากภาครัฐ นอกจากนี้ยังพบพื้นที่นาข้าวที่ถูกทิ้งร้าง โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลดลงของราคาข้าว ส่งผลให้เกษตรกรหลายรายตัดสินใจทิ้งที่นาไปประกอบอาชีพนอกหมู่บ้าน สำหรับความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพบว่าร้อยละ 63.93 ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและปัญหามลพิษทางน้ำ ผลการศึกษาได้นำมาใช้สร้างแบบจำลองเชิงบูรณาการในรูปแบบเกมและสถานการณ์จำลอง 3 รูปแบบ ได้แก่ การสร้างแผนที่ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เกมเศรษฐีสทิงพระ และเกมสร้างเมือง ผลการใช้แบบจำลองทั้ง 3 ประเภท สามารถทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นบางคนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาดูแลสิ่งแวดล้อม และได้มีข้อเสนอแนะในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การส่งเสริมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การปรับปรุงคุณภาพดินในพื้นที่การเกษตร เป็นต้น |
Other Abstract: | Sathingphra district, Songkhla province has various land use types with rapidly changing by natural, socio-economic and political factors. This fast changing leads to environmental problems. The creation of stakeholders’ understanding on the interactions among components in the system and possible environmental impacts through the participatory process are necessary. The thesis is an integrated studies implemented in Thahin, Bordang and Watchan sub-districts because of diverse agricultural activities in this area. This project aims to identify the land use plan by integrating geoinformatics, learning models and participatory process. There are 3 main steps in this research: (i) study of land use change in past 30 years (1986 - 2015) by using geographic information system (GIS), and in-depth interviews of stakeholders, (ii) study environmental perceptions of stakeholders, and (iii) create and use integrative (ecosystems, socio-economic and geoinformatics) participatory models to exchange learning of key interactions in the system and identify the land use plan. The results found that paddy field was the major decreasing land use. Most of the paddy area were converted into human settlement and plantation, especially oil palm because of the government promotion project. In addition, abandoned paddy fields were increased in recent years caused by economic factors, especially the decline in rice price. This stimulated farmer to work off-farm and left paddy field abandoned. For the environmental perception, 63.93% of stakeholders had lack understanding about impacts of land use change and water pollution. This result were then used to create integrative participatory models in form of gaming and simulations. Three models were created, including participatory mapping, Sathingphra monopoly game and City builder game. The results after using models revealed that stakeholders had improved their understanding on environmental problems and some of them change their behavior to save environment. Finally, the land use plan was collective proposed such as promoting the use of organic fertilizer and improvement of soil quality in agricultural areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61439 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.843 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.843 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787111420.pdf | 22.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.