Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61442
Title: ผลของยาไซโคลฟอสฟาไมด์, มัยโคฟีโลเลทโมฟีติล และ ทาโครลิมุส ต่อไซโตไคน์ในปัสสาวะของผู้ป่วยไตอักเสบลูปัสที่ได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์
Other Titles: Effects of cyclophosphamide, mycophelate mofetil and tacrolimus on urinary cytokines in patients with lupus nephritis treated with steroid-based regimen
Authors: ชุติภา พรมจีน
Advisors: ปาจรีย์ จริยวิลาศกุล
ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาวะไตอักเสบลูปัสเป็นภาวะที่มีความรุนแรงมากในผู้ป่วยที่เป็นโรค        เอสแอลอีหรือ โรคลูปัส ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตหรือพัฒนาไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการศึกษาพัฒนาทั้งด้านการวินิจฉัยและการรักษาอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังพบว่าผู้ป่วยไตอักเสบลูปัสหนึ่งในสามไม่ตอบสนองต่อการรักษา การพัฒนาเครื่องมือในการในติดตามและทำนายผลการรักษาโดยพิจารณาไซน์โตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบจึงเป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์ การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้แก่ Interleukin-6 (IL-6), Interferon-inducible protein-10 (IP-10), Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF) และ Tumor necrosis factor like weak inducer of apoptosis (TWEAK)  ที่เวลาก่อนได้รับการรักษา, หนึ่งเดือนหลังได้รับการรักษา และสามเดือนหลังได้รับการรักษา ในผู้ป่วยไตอักเสบลูปัสชาวไทย จำนวน 59 ราย ที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิชนิดต่างๆ (ไซโคลฟอสฟาไมด์  มัยโคฟีโนเลทโมฟิติล และทาโครลิมุส) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อยากดภูมิคุ้มกันนั้น มีระดับ IL-6, IP-10  และ VEGF ในปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในช่วงสามเดือนเวลาหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (ระดับ IL-6 ก่อนได้รับยา 16.18(2.44-37.37) พก./มก.ครีอะตินิน, หลังได้รับยาสามเดือน 3.82(0.63-13.25) พก./มก.ครีอะตินิน, p=0.02, ระดับ IP-10 ก่อนได้รับยา 83.65(25.00-165.01) พก./มก.ครีอะตินิน, หลังได้รับยาสามเดือน 33.85(12.97-95.58) พก./มก.ครีอะตินิน, p= 0.04, ระดับ VEGF ก่อนได้รับยา  255.95(108.36-402.99) พก./มก.ครีอะตินิน, หลังได้รับยาสามเดือน 195.06(134.84-297.90) พก./มก.ครีอะตินิน, p=0.04) ข้อมูลดังกล่าวอาจสามารถนำมาใช้ทำนายการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยไตอักเสบลูปัสที่ได้รับยากดภูมิในช่วงเหนี่ยวนำการรักษาได้        อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเปลี่ยนแปลง ระดับของ IL-6, IP-10, VEGF, และ TWEAK ระหว่างยาแต่ละชนิด การศึกษานี้พบว่า biomarkers แต่ละชนิด มีค่าลดลงภายหลังจากได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิชนิดต่างๆ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในยากดภูมิแต่ละชนิดแล้วพบว่า ยากดภูมิแต่ละชนิดมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงระดับของ biomarkers ที่ต่างกัน การศึกษาในกลุ่มประชากรที่เพิ่มมากขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาสำหรับการศึกษาในอนาคต หากการศึกษายืนยันผลไปในทิศทางเดียวกัน อาจมีประโยชน์ในการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ ที่สำคัญกลุ่มผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษา มีค่า IL-6, IP-10 และ VEGF ในปัสสาวะลดลงอย่างชัดเจนที่เวลา 3 เดือน มีประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางการทำนายการตอบสนองต่อการรักษาที่ 6 เดือนได้ ซึ่งมีประโยชน์ทำให้แพทย์ผู้รักษา มีความมั่นใจว่าให้การรักษาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพแล้ว
Other Abstract: Lupus nephritis (LN) is one of the most serious manifestations of systemic lupus erythematosus (SLE).  Despite the improvement in the field, up to one-third of LN patients still do not respond to initial immunosuppressive treatment. There are many inflammatory cytokines/chemokines have been shown as LN biomarkers. In this study, we assessed levels of urinary Interleukin-6 (IL-6), Interferon-inducible protein-10 (IP-10), Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF) and Tumor necrosis factor like weak inducer of apoptosis (TWEAK)   during an induction phase (baseline, 1- and 3-month of the treatment) in 59 LN patients who received various immunosuppressants (intravenous cyclophosphamide (IVCY), mycophenolate mofetil (MMF) and tacrolimus. The resutls showed significant reduce of IL-6, IP-10 and VEGF were seen in responder patients (IL-6, IP-10  and VEGF in  3-month (IL-6: baseline 16.18(2.44-37.37) pg/mg Creatinine, 3-month 3.82(0.63-13.25) pg/mg Creatinine, p=0.02,  IP-10: baseline 83.65(25.00-165.01) pg/mg Creatinine, 3-month 33.85(12.97-95.58) pg/mg Creatinine, p= 0.04 and VEGF: baseline 255.95(108.36-402.99), 3-month 195.06(134.84-297.90), p = 0.04). These results may use for drug monitoring and predict respond to treatment. However we not found the different between IVCY, MMF, and tacrolimus in effect of cytokines reduction. In this study, decreases of the urinary biomarkers responding to treatments were observed. Each of treatments showed different characteristics of lowering the urinary biomarkers. Future studies with a larger number of patients are required to elucidate the findings and to prove if these urinary biomarkers are useful for personalized medicine. Especially, obvious decrements of the urinary biomarkers at, IL-6, IP-10 and VEGF can be useful to indicate the treatment efficiency in LN patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61442
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.96
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.96
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787277020.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.