Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61445
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระ เหมืองสิน | - |
dc.contributor.advisor | ชูพรรณ โกสานิชย์ | - |
dc.contributor.author | ธนภัทร ยีขะเด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-02-26T13:44:36Z | - |
dc.date.available | 2019-02-26T13:44:36Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61445 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศต่อการสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์ 2) พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้ง 3) ศึกษาการยอมรับการใช้งานนวัตกรรม และ 4) การนำนวัตกรรมต้นแบบไปสู่เชิงพาณิชย์ โดยในการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศในการจัดการฟาร์มและสนับสนุนการตัดสินใจ และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำนวน 90 ตัวอย่าง และการพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ราคากุ้งเพื่อใช้สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจจากชุดข้อมูลราคากุ้งและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องย้อนหลัง 5 ปี (2557-2561) จำนวน 830 ชุดข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอย และได้นำโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งมาพัฒนาระบบวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจด้านการเงินและจัดการข้อมูลการเลี้ยงกุ้งผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น จากนั้นได้ศึกษาการยอมรับการใช้งานและแนวทางการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้กลุ่มสหกรณ์ใช้สารสนเทศในการวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจบนพื้นฐานของ 7 งานหลักคือ การเลือกแหล่งที่ตั้งของฟาร์ม การวางแผนธุรกิจเลี้ยงกุ้ง การจัดการบ่อเลี้ยง การจัดการกุ้ง การจัดการด้านการเงิน การจัดการฟาร์ม และการจัดการชุมชน สังคมหรือกลุ่มเกษตรกร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง พบว่า ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความคาดหวังต่อความพยายาม อิทธิพลจากสังคม การสนับสนุนของทรัพยากร และอำนาจของผู้มีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ระดับ 51.4% 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งพบว่า ราคากุ้ง = -1759.426-1.066(ขนาดของกุ้ง)+9.881(อัตราเงินเฟ้อ)+11.135(ดัชนีราคาผู้ผลิต)-1.835(ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคเกษตรกรรม) +1.863(อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา)+0.002(อัตราผลิตกุ้งขาวแวนนาไมรวม)-1.864(ราคาน้ำมันดีเซล)+42.448(ถ้าเป็นเดือนมกราคม)+53.286 (ถ้าเป็นเดือนกุมภาพันธ์)+30.325(ถ้าเป็นเดือนมีนาคม)+2.057(ถ้าเป็นเดือนเมษายน)-20.070(ถ้าเป็นพฤษภาคม)-10.085(ถ้าเป็นเดือนมิถุนายน)-3.180(ถ้าเป็นเดือนกรกฎาคม)-3.320 (ถ้าเป็นเดือนสิงหาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนกันยายน)-30.390(ถ้าเป็นเดือนตุลาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อราคากุ้งร้อยละ 89.7 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 โดย โมเดลพยากรณ์ราคากุ้งนี้ได้นำมาพัฒนาเป็นโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจทางด้านการเงินของผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้ชื่อ Smart Aqua 3) จากการสอบถามทัศนคติจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานนวัตกรรมต้นแบบจำนวน 30 ตัวอย่าง พบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบในด้านความสามารถของระบบ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านความปลอดภัย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของระบบ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรและข้อมูล ทัศนคติต่อการใช้ และการยอมรับการใช้ในระดับพอใจมากและ 4) การให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาคืนทุน 3.5 ปี | - |
dc.description.abstractalternative | This research aims as 1) study information behaviours toward decision support of small scale shrimp farmers under cooperative context 2) develop innovation system for shrimp farmers decision support management tools 3) study shrimp farmers’ technology acceptance and 4) determine the technology commercialization. This research applies mixed method both qualitative and quantitative. The qualitative research applied to understand the context of information behaviours for farm management and decision support. The quantitative research was applied to study the factors influence online collaboration among shrimp farmers’ cooperative from 90 samples. The quantitative also was applied to develop shrimp price forecasting model from 830 data set of 5 years backward (2014-2018) from secondary data that available on web sites by using linear regression method. The result found that 1) shrimp farmers need information for decision support in 7 main tasks are farm site selection, farm business plan, pond management, shrimp management, financial management, farm management, and community or cooperative management. The study also found that trust, effort expectancy, facilitating condition, social influence and partner power are factors influence with online collaboration among shrimp farmers’ cooperative (Adjusted R2 = .514). 2) The study of factors influence shrimp price forecasting = -1759.426-1.066 (weigh/kg.) + 9.881 (Consumer price Index) + 11.135 (Producer price index) -1.835 (Crop production index) + 1.863 (Exchange rate) + 0.002 (Vannamei shrimp production) -1.864 (Diesel price) + (Coefficient value of each moth + 42.448 (in case of January) + 53.286 (in case of February) + 30.325 (in case of March) + 2.057 (in case of April) - 20.070 (in case of May) - 10.085 (in case of June) - 3.180 (in case of July) - 3.320 (in case of August) - 15.877 (in case of September) - 30.390 (in case of October) - 11.835 (in case of November) which this model adjusted R2= 89.7%. Therefor the forecasting model was applied to develop mobile application for farm information management and financial decision support tools. 3) The survey of users’ technology acceptance from 30 samples found that user satisfied with the system in terms of usability, design, system content, security, data support decision, perceived usefulness, and intention to use in Somewhat Satisfied. 4) The non-exclusive licensing is the most appropriate way for technology commercialization with expected payback period is 3.5 years. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.804 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ | - |
dc.subject | ประมงกุ้ง | - |
dc.subject | พฤติกรรมข่าวสาร | - |
dc.subject | กุ้ง -- ราคา -- พยากรณ์ | - |
dc.subject | Decision support systems | - |
dc.subject | Shrimp fisheries | - |
dc.subject | Information behavior | - |
dc.subject | Shrimps -- Prices -- Forecasting | - |
dc.subject.classification | Agricultural and Biological Sciences | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์ | - |
dc.title.alternative | Innovative information system for decision support in shrimp farm management of small-scale farmers under cooperative | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ | - |
dc.subject.keyword | พฤติกรรมสารสนเทศ | - |
dc.subject.keyword | การเลี้ยงกุ้ง | - |
dc.subject.keyword | พยากรณ์ราคากุ้ง | - |
dc.subject.keyword | กลุ่มสหกรณ์ | - |
dc.subject.keyword | Shrimp farm decision support | - |
dc.subject.keyword | Information Behaviours | - |
dc.subject.keyword | Shrimp price forecasting | - |
dc.subject.keyword | farmers cooperatives | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.804 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787780220.pdf | 7.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.