Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61501
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธราพงษ์ วิทิตศานต์ | |
dc.contributor.author | ณัฐญา จั่นฮวบ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-02-26T13:51:05Z | |
dc.date.available | 2019-02-26T13:51:05Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61501 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อกระบวนการแปรรูปร่วมของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วและน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้ว ในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาในช่วง 350 ถึง 440 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาในช่วง 30 ถึง 75 นาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้วในช่วงร้อยละ 1 ถึง 5 โดยน้ำหนัก และไม่ใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา อัตราส่วนของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วต่อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเป็น 10:0 9:1 7:3 5:5 3:7 1:9 และ 0:10 โดยออกแบบการทดลองเพื่อหาภาวะที่เหมาะสมให้ได้ปริมาณผลิตภัณฑ์ของเหลวสูงสุด นำผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟจำลองการกลั่นตามคาบจุดเดือด ตามมาตรฐาน ASTM D2887 ภาวะที่เหมาะสมในงานวิจัยนี้ คือ ที่อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 410 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 45 นาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้วร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก และอัตราส่วนของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วต่อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเป็น 7:3 ซึ่งจะได้ร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลว ของแข็ง และแก๊สเท่ากับร้อยละ 80.11 2.86 และ 17.03 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ และองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ของเหลวประกอบด้วย แนฟทา เคโรซีน แก๊สออยล์ และกากน้ำมัน ซึ่งจะมีปริมาณองค์ประกอบเหล่านี้ในผลิตภัณฑ์เท่ากับร้อยละ 42.66 12.01 13.61 และ 12.01 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้จะเป็นสารไฮโดรคาร์บอนจำพวกอะลิฟาติกและแอโรแมติกที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนอยู่ในช่วงแนฟทาจนถึงแก๊สออยล์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโคปีและเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีแมสสเปกโทรสโคปี โดยผลิตภัณฑ์ของเหลวนี้มีองค์ประกอบของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจนเท่ากับร้อยละ 82.11 15.26 0.22 และ 2.41 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ มีค่าความร้อนเท่ากับ 44.953 เมกะจูลต่อกิโลกรัม มีค่าความหนืดเท่ากับ 2.33 ตารางมิลลิเมตรต่อวินาที และค่าความหนาแน่นเท่ากับ 0.83 กรัมต่อมิลลิลิตร | |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study the parameters which affect to the co-processing of used lubricating oil and used cooking oil on spent FCC catalyst in a microreactor. Several parameters were investigated such as reaction temperature of 350 – 440 ๐C, reaction time of 30 – 75 minutes, catalyst loading of 0 – 5 percentage by weight (wt%) and ratio by weight of used lubricating oil and used cooking oil (ULO/UCO ratio) of 10:0 9:1 7:3 5:5 3:7 1:9 0:10. Design of experiment was investigated to determine the optimal condition on the maximum yield of liquid product and product distribution according with ASTM D2887. The optimal condition of this catalytic cracking were temperature of 410 ๐C, reaction time of 45 minutes, 1 wt% of spent FCC catalyst and 7:3 of ULO/UCO ratio, that give the yield of liquid, solid and gas product were 80.11, 2.86 and 17.03 wt%, respectively. The product distribution of liquid product consist of naphtha, kerosene, gas oil and long residue. The percentage of these in product were 42.66, 12.01, 13.61 and 12.01 wt%, respectively. Moreover, the liquid product obtained under the optimal condition was analyzed by using Fourier transform infrared spectroscopy and gas chromatography mass spectrometry. It was found that this product was aliphatic and aromatic hydrocarbon, which the number of carbon atoms in range of naphtha to gas oil. The ultimate analysis of liquid product obtained include 82.11 wt% of carbon, 15.26 wt% of hydrogen, 0.22 wt% of nitrogen and 2.41 wt% of oxygen, respectively. The physical properties of liquid product obtained were similar to those of the commercial fuel such as 44.953 MJ/kg of heating value, 2.33 mm2/s of viscosity and 0.83 g/ml of density. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.840 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | น้ำมันหล่อลื่น | |
dc.subject | น้ำมันพืช | |
dc.subject | การแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา | |
dc.subject | Lubricating oils | |
dc.subject | Vegetable oils | |
dc.subject | Catalytic cracking | |
dc.subject.classification | Energy | |
dc.title | การแปรรูปร่วมของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วและน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซี | |
dc.title.alternative | CO-PROCESSING OF USED LUBRICATING OIL AND USED COOKING OIL ON FCC CATALYST | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | เคมีเทคนิค | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.keyword | CO-PROCESSING | |
dc.subject.keyword | FCC CATALYST | |
dc.subject.keyword | USED LUBRICATING OIL | |
dc.subject.keyword | USED COOKING OIL | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.840 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5771973323.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.