Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61513
Title: อิทธิพลของเถ้าหนักลิกไนต์ต่อการแอ่นตัวของกระเบื้องเซรามิกสโตนแวร์
Other Titles: Influence of lignite bottom ash on pyroplastic deformation in stoneware ceramic tiles
Authors: ธฤต ประสาทเสรี
Advisors: ธนากร วาสนาเพียรพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เถ้าถ่านหิน
ลิกไนต์
วัสดุเซรามิก
Coal ash
Lignite
Ceramic materials
Issue Date: 2561
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของการใช้เถ้าหนักลิกไนต์เป็นส่วนผสมในเนื้อกระเบื้องเซรามิกสโตนแวร์ ชนิดดูดซึมน้ำต่ำ ทำการขึ้นรูปชิ้นงานกระเบื้องที่มีส่วนผสมของเถ้าหนักลิกไนต์ที่มีอัตราการดูดซึมน้ำเทียบเท่ากับกระเบื้องสโตนแวร์สูตรมาตรฐาน และนำสูตรกระเบื้องที่มีส่วนผสมของเถ้าหนักลิกไนต์ที่มีการดูดซึมน้ำใกล้เคียงกับกระเบื้องสูตรมาตรฐานมาผสมในอัตราส่วนร้อยละ10 ถึงร้อยละ 90 ของกระเบื้องดินเผาสูตรมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มที่เกิดขึ้นจากการเติมเถ้าหนักลิกไนต์ลงในกระเบื้องดินเผาที่มีผลต่อการแอ่นตัวที่อุณหภูมิสูง และสมบัติที่สำคัญของกระเบื้องเซรามิกสโตนแวร์ กระเบื้องดินเผาที่มีการใช้เถ้าหนักลิกไนต์เป็นส่วนผสมมีการแอ่นตัวที่อุณหภูมิสูงน้อยลงตามอัตราส่วนของเถ้าหนักลิกไนต์ที่เพิ่มขึ้น กระเบื้องดินเผา (สูตร T3) ประกอบด้วยเถ้าหนักลิกไนต์ร้อยละ 50 ดินดำแม่ทานร้อยละ 30 ดินขาวลำปางร้อยละ 10 โซเดียมเฟลสปาร์ร้อยละ 5 และทรายบดร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก มีการค่าแอ่นตัว 1.29x10-6 ต่อมิลลิเมตร เทียบกับกระเบื้องสูตรมาตรฐาน (สูตร STD) ประกอบด้วย ดินดำแม่ทานร้อยละ 30 ดินขาวลำปางร้อยละ 30 หินผุร้อยละ 30 โซเดียมเฟลสปาร์ร้อยละ 5 และทรายบดร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก มีค่าการแอ่นตัว 3.39x10-6 ต่อมิลลิเมตร เนื่องจากในเถ้าหนักลิกไนต์ มีองค์ประกอบของแคลเซียมออกไซด์เป็นตัวทำให้เกิดเฟสอนอร์ไทต์ที่มีผลึกรูปเข็ม และช่วยให้ค่าการแอ่นตัวน้อยลงตามปริมาณของเฟสอนอร์ไทต์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้การเติมเถ้าหนักลิกไนต์ในอัตราส่วนที่เหมาะสมยังช่วยลดปริมาณการดูดซึมน้ำโดยกระเบื้องดินเผา (สูตร T30) ที่มีเถ้าหนักลิกไนต์ร้อยละ 15 ดินดำแม่ทานร้อยละ 30 ดินขาวลำปางร้อยละ 24 หินผุร้อยละ 21 โซเดียมเฟลสปาร์ร้อยละ 5 และทรายบดร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก มีค่าการดูดซึมน้ำ 0.99 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับกระเบื้องสูตรมาตรฐานที่ 3.15 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: This research study on the effects of lignite bottom ash as an ingredient to produce low water absorption ceramic stoneware tiles. The tiles formulated with lignite bottom ash that absorbing water close to the standard were mixed in the ratio of 10 to 90 by weight of the standard stoneware tiles. The formation was done to analyze the trend of lignite bottom ash that added into stoneware tiles by analyzing the effect on pyroplastic deformation and properties of ceramic stoneware tiles. The stoneware tiles with lignite bottom ash content had lower pyroplastic deformation from the formula (T3) containing 50% lignite ash, 30% Mae tile ball clay, 10% Lampang kaolin, 5% sodium feldspar, and 5% milled sand which has pyroplastic deformation of 1.29x10-6 mm-1 compare to formula (STD) containing 30% Mae tile ball clay, 30% Lampang kaolin, 30% pottery stone, 5% sodium feldspar, and 5% milled sand which has pyroplastic deformation of 3.39x10-6 mm-1 because high amount of calcium oxide content cause forming anorthite phase with the needle-shaped crystals that help reduce the pyroplastic deformation. The water absorbtion of formula T30 containing 15% lignite ash, 30% Mae tile ball clay, 24% Lampang kaolin, 21% pottery stone, 5% sodium feldspar, and 5% milled sand was 0.99% compared to standard stoneware tile which was 3.15%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเซรามิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61513
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.576
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.576
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5772278023.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.