Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6179
Title: การศึกษาบทบาทของปริบทในการตีความเจตนาของรูปประโยคคำถามภาษาไทย
Other Titles: A study of the role of context in the intention interpretation of interrogative sentences in Thai
Authors: กุลพร โพธิศรีเรือง
Advisors: สุดา รังกุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Suda.R@chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- ประโยค
ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์
ภาษาไทย -- คำถาม (ไวยากรณ์)
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเจตนาการสื่อสารของรูปประโยคคำถามในภาษาไทย และความสัมพันธ์ระหว่างปริบทสถานการณ์และปริบทเนื้อความกับเจตนาการสื่อสารที่แฝงอยู่ในรูปประโยคคำถามภาษาไทย ผลการวิเคราะห์พบว่า รูปประโยคคำถามในภาษาไทยสามารถแสดงเจตนาการสื่อสารอื่นที่นอกเหนือไปจากการถาม 13 เจตนา ได้แก่ เจตนาปฏิเสธ เจตนาขอร้อง เจตนาเสนอแนะ เจตนาห้ามการกระทำ เจตนาขู่ เจตนาประชดประชัน เจตนาเสียดสี เจตนาแสดงความรู้สึกไม่เชื่อ เจตนาแสดงความรู้สึกประหลาดใจ เจตนาแสดงความรู้สึกไม่พอใจ เจตนาหยอกล้อ เจตนาทักทาย และเจตนารำพึงรำพัน ทั้งนี้ยังพบว่ารูปประโยคคำถามสามารถใช้เพื่อแสดงหน้าที่ในปริจเฉทได้อีก 4 หน้าที่ ซึ่งได้แก่ หน้าที่การนำเข้าสู่ประเด็นใหม่ในการเล่าเรื่อง หน้าที่ในการดึงความสนใจของผู้ฟังในการเล่าเรื่อง หน้าที่สร้างจุดสนใจให้ผู้ฟังมีความเห็นคล้อยตาม และหน้าที่ตรวจสอบความเข้าใจร่วมกันของผู้พูดกับผู้ฟัง การตีความเจตนาการสื่อสารอื่นๆ ของรูปประโยคคำถาม ผู้ฟังจะสามารถตีความเจตนาได้จากปริบทที่แวดล้อมประโยคคำถามนั้นอยู่ ซึ่งได้แก่ ปริบทสถานการณ์ และปริบทเนื้อความ โดยปริบทสถานการณ์ประกอบไปด้วย ผู้พูด ผู้ฟัง เวลา และสถานที่ ส่วนปริบทเนื้อความนั้นมี 2 ประเภท ได้แก่ ปริบทก่อนหน้า และปริบทตามหลัง จากข้อมูลพบว่า เวลาและสถานที่เป็นปริบทสถานการณ์ที่มีบทบาทในการตีความเจตนาทักทาย และเจตนารำพึงรำพัน ผู้พูดและผู้ฟังกับเวลาและสถานที่มีบทบาทในการตีความเจตนาหยอกล้อ ส่วนในปริบทเนื้อความประเภทปริบทก่อนหน้ามีบทบาทในการตีความเจตนาปฏิเสธ เจตนาขอร้อง และเจตนาแสดงความรู้สึกไม่เชื่อ ปริบทตามหลังมีบทบาทในการตีความเจตนาเสนอแนะ และเจตนาประชดประชัน ปริบทก่อนหน้าและปริบทตามหลังมีบทบาทในการตีความเจตนาปฏิเสธ และเจตนาขู่ และทั้งปริบทสถานการณ์และปริบทเนื้อความพบว่ามีบทบาทในการตีความเจตนาเสียดสี เจตนาห้ามการกระทำ เจตนาแสดงความรู้สึกไม่พอใจ และเจตนาแสดงความรู้สึกประหลาดใจ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าในการตีความเจตนาการสื่อสารต่างๆ ของรูปประโยคคำถามจำเป็นต้องใช้ทั้งปริบทสถานการณ์ และปริบทเนื้อความในการตีความ เพราะปริบททั้งสองประเภทต่างมีส่วนช่วยในการตีความเจตนาทั้งสิ้น
Other Abstract: The purpose of this research is to investigate the speaker's intentions of interrogative sentences in Thai and to investigate the role of context used to interpret each intention. An interrogative sentence is usually used to ask a question. It is also found that it can be used to indicate 13 other kinds of intentions, namely, denial, request, offering, stopping an action, threat, expressing irony, expressing sarcasm, expressing disbelief, expressing surprise, expressing discontent, teasing, greeting and complaining to oneself. Moreover interrogative sentences can be used as discourse markers, namely, opening a conversation, appealing to the hearer, getting hearer's attention and information checking. In interpreting the speaker's intention, the hearer needs to take context into consideration. There are two major types of context -- the situational context and the textual context. The situational context is composed of speaker, hearer, time and place. The textual context includes previous discourse and following discourse. The result shows that time and place have an important role in the interpretation of greeting and complaining to oneself. Speaker, hearer, time and place are all needed to interpret teasing. Previous discourse have an important role in the interpretation of denial, request and expressing disbelief. Following discourse have an important role in the interpretation of offering and expressing irony. Previous discourse and following discourse have an important role in the interpretation of denial and threat. Both the situational context and the textual context are all needed to interpret the intention of stopping an action and expressing sarcasm, discontent and surprise. In conclusion, an interrogative form of sentence can be used by a speaker to express various kinds of intentions. The hearer needs both situational context and textual context in order to be able to interpret the intention correctly.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6179
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.527
ISBN: 9741744277
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.527
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kulaporn.pdf952.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.