Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61814
Title: The DNA methylation of MIR-203, AMD1 and bcap31 gene in psoriasis
Other Titles: การเกิด ดี เอ็ เอ เมทิลเลชั่นของยีนไมโครอาร์เอ็นเอ 203, ยีนเอเอ็มดี 1 และยีนบีซีเอพี 31 ในโรคสะเก็ดเงิน
Authors: Jeerapa Kampeng
Email: No information provinded
Advisors: Jongkonnee Wongpiyabovorn
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Jongkonnee.W@Chula.ac.th
Subjects: Psoriasis
Gene silencing
โรคสะเก็ดเงิน
การยับยั้งการแสดงออกของยีน
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Psoriasis is a chronic inflammatory skin disease. Its characteristic features in the skin consist of inflammatory changes in both dermis and epidermis, with abnormal keratinocyte differentiation and proliferation. Dysfunctional apoptotic process occurs in psoriasis. There is a decrease apoptosis of lesional keratinocyte. DNA methylation is a major epigenetic modification, affects cell function by altering gene expression. DNA methylation of promoter region in CpG island, has shown to be associated with transcription silencing of the gene in normal development. Aberrant DNA methylation plays an important role in the development of autoimmune disease including psoriasis. Previous studies show that abnormal DNA methylation was found in many genes, such as SHP-1, P16INK4a, and p15 genes. This study aimed to analyze promoter methylation of mir-203, AMD1 and BCAP31 genes in patients with psoriasis compare to normal using combined bisulfite restriction analysis (COBRA), methylation specific PCR (MSP), and bisulfite sequencing, respectively. Then, the correlation between the promoter methylation and their expression level were investigated. We analyzed the methylation level of miR-203 in epidermis and AMD1 in epidermis and total leukocytes. There were no significant differences in methylation level of mir-203 and AMD1 in psoriasis, compared to normal controls. Our results suggest that, mir-203 and AMD1 mRNA expression in psoriasis is not controlled by mir-203 and AMD1 promoter methylation. Then, mRNA expression level and promoter methylation of BCAP31 genes in PBMCs were studied. Interestingly, The expression level of BCAP31 mRNA was significantly decrease and correlated with promoter hypermethylation in psoriasis group compared with healthy control. BCAP31, an ubiquitous ER membrane protein, has been implicated in the regulation of apoptosis in lymphocytes and epithelial cells. Thus, down-regulation of BCAP31 may increase potential to resist apoptosis of lymphocyte in psoriasis. This is the first report showed that hypermethylation of BCAP31 promoter contributes to down-regulation of mRNA expression in psoriasis.
Other Abstract: โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ลักษณะเด่นของโรคคืออาการอักเสบที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ โดยเกิดความผิดปกติในการเพิ่มจำนวนและการพัฒนาของเซลล์เคอราทิโนไซท์ นอกจากนี้ในโรคสะเก็ดเงินยังพบการเสียหน้าที่ในกระบวนการอะพอพโทซิส โดยพบว่ามีการอะพอพโทซิสของเซลล์เคอราทิโนไซท์บริเวณรอยโรคลดลง ดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่น เป็นกระบวนการหลักในการเปลี่ยนแปลงทางอิพิจิเนติก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของเซลล์โดยการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน ที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน การเกิด ดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่นมักเกิดที่บริเวณ CpG island บนโปรโมเตอร์ของยีน ซึ่งการเกิด ดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่นบริเวณนี้จะมีความสัมพันธ์กับการแสดงกดการแสดงออกในการพัฒนาแบบปกติของยีน การเปลี่ยนแปลงไปของการเกิดดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่น มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของโรคภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อตนเองรวมทั้งโรคสะเก็ดเงิน จากการศึกษาก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่า ความผิดปกติของการเกิดดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่นในโรคสะเก็ดเงินพบได้ในหลายยีน เช่น ยีน SHP-1 ยีน p16INKa และยีน p15 ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์แบบแผนของการเกิดดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่น ของสามยีน คือ ยีน mir-203, ยีน AMD1 และยีน BCAP31 ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ด้วยวิธีการ combined bisulfite restriction analysis (COBRA), methylation specific PCR (MSP), และ bisulfite sequencing ตามลำดับ จากนั้นจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่น และ ระดับการแสดงออกของยีน ผลการศึกษาพบว่า ระดับการเกิดดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่นของยีน mir-203 ในเซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า และ ยีน AMD1 ในเซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าและ total leukocyte ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน เมื่อเทียบกับคนปกติพบว่าไม่ต่างกัน ไม่สอดคล้องกับระดับการแสดงออกของยีน อาจสรุปได้ว่า การเพิ่มขึ้นในระดับ เอ็ม อาร์ เอ็น เอ ของยีน mir-203 และ AMD1 ไม่ได้มาจากกลไกการควบคุมด้วย การเกิด ดี เอ็น เอ ดี เมทิลเลชั่น ที่บริเวณโปรโมเตอร์ของยีน การศึกษาต่อมาคือการศึกษาการแสดงออกในระดับ เอ็ม อาร์ เอ็น เอ และการเกิดดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่น ของยีน BCAP31 ใน Peripheral Blood Mononuclear Cell (PBMC) ของผู่ป่วยสะเก็ดเงิน ผลการศึกษาเป็นที่น่าสนใจว่า การแสดงออกในระดับ เอ็ม อาร์ เอ็น เอ และการเกิด ดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่นของยีนมีความสัมพันธ์แบบผกผัน คือ พบการแสดงออกในระดับเอ็ม อาร์ เอ็น เอ ต่ำลง แต่ระดับการเกิดดี เอ็น เอ เมทิลเลชั่นสูงขึ้นในผู้ป่วยเมื่อเทียบกับคนปกติ โดย BCAP31 นี้จัดเป็นโปรตีนที่พบได้มากบริเวณเยื่อหุ้มผิวของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม ซึ่งเกี่ยวพันกับการควบคุมการเกิดการอะพอพโทซิสของเซลล์ลิมโฟไซต์ และเซลล์เยื่อบุผิวหลายชนิด ดังนั้นจากการศึกษานี้จึงอาจสรุปได้ว่า การลดลงของการแสดงออกของยีน BCAP31 อาจเพิ่มศักยภาพในการต้านทานการเกิดอะพอพโทซิสของเซลล์ลิมโฟไซต์ในโรคสะเก็ดเงินได้ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่แสดงให้เห็นว่าการเกิดเมทิลเลชั่นที่สูงขึ้นนี้ทำให้การแสดงออกในระดับ เอ็ม อาร์ เอ็น เอของยีน BCAP31ลดลงในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Microbiology (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61814
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5087126220_2010.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.