Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61878
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน-
dc.contributor.authorภัทร์วุธ บุญลาภ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-05-16T07:56:37Z-
dc.date.available2019-05-16T07:56:37Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61878-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาเสนอแนวทางการลดความสูญเปล่าภายในสายการผลิตกุ้งแปรรูปซูชิแช่แข็ง ตามแนวทางของ ลีน ซิกส์ ซิกม่า ซึ่งเป็นประยุกต์ระหว่างแนวคิดแบบ ลีน (Lean) มุ่งเน้นเรื่องการลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการ และ แนวคิดแบบ ซิกซ์ ซิกม่า โดยมีหลักในการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติเป็นสำคัญ มีระยะการทำงาน 5 ระยะ ได้แก่ ระยะการค้นหาปัญหา (Define Phase) ระยะการวัด (Measurement Phase) ระยะการวิเคราะห์ (Analysis Phase) ระยะการปรับปรุง (Improve Phase) และระยะสุดท้ายคือ ระยะการควบคุมกระบวนการ (Control Phase) สำหรับงานวิจัยนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อลดความสูญเปล่าภายในสายการผลิตแบ่งตามระยะการทำงาน 5 ระยะการทำงาน โดยระยะการค้นหาปัญหา ทำการวิเคราะห์ความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการเพื่อศึกษาภาพรวมของความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการของการผลิต พบปัจจัยความสูญเปล่า 27 ปัจจัย ระยะการวัด ทำการคัดกรองปัจจัยต่างๆ ด้วย Cause & Effect Matrix เพื่อคัดกรองปัจจัยที่ต้องทำการปรับปรุงเหลือ 9 ปัจจัย หลังจากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FMEA ในระยะของการวิเคราะห์ คงเหลือปัจจัยที่นำไปทำการปรับปรุงจำนวน 5 ปัจจัย ระยะการปรับปรุง ได้อธิบายถึงแนวทางในการปรับปรุงทั้ง 5 ปัจจัย โดยร่วมกับโรงงานกรณีศึกษา เพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานต่างในโรงงานกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความสูญเปล่าดังกล่าว หลังจากการปรับปรุงได้ทำการทดสอบกระบวนการเพื่อเปรียบเทียบก่อนปรับปรุงและหลังการปรับปรุง ภายหลังการปรับปรุงส่งผลให้รอบเวลาการผลิตลดลง 32.46% ลดจำนวนพนักงานในกระบวนการ 59 คน ลดของเสียที่เกิดขึ้น 61.45% ทั้งนี้ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการแก้ไขเพียง 5 ปัจจัย ที่มีผลต่อความสูญเปล่าสูงที่สุดเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา หากทีมงานนำปัจจัยที่เหลือมาทำการแก้ไขและปรับปรุงต่อไป ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นภายในสายการผลิตก็มีแนวโน้มที่จะลดลงen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is guiding study about waste reduction in production process of sushi frozen shrimps. This research applied Lean Six Sigma concept wich emphasize waste reduction in production process combined with Six Sigma concept which as a method in this research. It consists 5 phase, which are define phase, measurement phase, analysis phase, improvement phase, and control phase. In each phase of waste reduction in production process of sushi frozen shrimps research divine up the work in 5 phase. The first phase is define 7 wastes for study all production line of sushi frozen shrimps. In each production process was founded 27 waste factors. Measurement phase was used screening mathode by cause and effect matrix which reduce the 27 waste factors to 9 waste factors and analysis factor by FMEA can be screening factor for improve process remain 5 factors. Improvement phase was describe the process improvement by participate with factory case study allocate and responsibility to implicated team. After the production process improvement, The result effect are reduce Takt time 32.46%, reduce the direct labor from 264 persons to 205 persons and reduce defect 61.45%. This research was improve only in 5 waste factors which utmost effect to the waste. Furthermore, We can reduce waste from the rest of cause then the waste trends to decline.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการควบคุมความสูญเปล่า-
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง -- การควบคุมการผลิต-
dc.subjectLoss control-
dc.subjectFrozen foods industry -- Production control-
dc.titleการลดความสูญเปล่าของสายการผลิตกุ้งแปรรูปซูชิแช่แข็งen_US
dc.title.alternativeWaste reduction in production process of sushi frozen shrimpen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuthas.R@Chula.ac.th-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5171431021_2553.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.