Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62058
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุรณี กาญจนถวัลย์-
dc.contributor.authorอิสริยา ปาริชาติกานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-06-04T09:52:58Z-
dc.date.available2019-06-04T09:52:58Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62058-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความสามารถในการฟื้นพลังและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสพฐ.เขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 414 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้มี 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินเหตุการณ์เครียดในชีวิตวัยรุ่น 3) แบบสอบถามสัมพันธภาพกับบิดามารดาและสัมพันธภาพกับเพื่อน 4) แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู และ 5) แบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังของวัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, Mann-Whitney U test, Kruskal-Wallis test, Spearman's rank correlation coefficient และ stepwise multiple regression analysis ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.1) มีความสามารถในการฟื้นพลังโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการฟื้นพลัง ได้แก่ สัมพันธภาพกับบิดามารดา สัมพันธภาพกับเพื่อนและการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล (p < 0.01) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถในการฟื้นพลัง ได้แก่ เหตุการณ์เครียดในชีวิต การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันและการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (p < 0.01) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยที่ร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการฟื้นพลังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลมากไปน้อย คือ สัมพันธภาพกับเพื่อน (มีอิทธิพลในเชิงบวก) เหตุการณ์เครียดในชีวิต (มีอิทธิพลในเชิงลบ) สัมพันธภาพกับบิดามารดา (มีอิทธิพลในเชิงบวก) และการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน (มีอิทธิพลในเชิงลบ) ซึ่งร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนได้ร้อยละ 31.8 ผลการศึกษาลักษณะความสามารถในการฟื้นพลังครั้งนี้ อาจถือเป็นตัวแทนของประชากรวัยรุ่นตอนปลายได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะวัยรุ่นในกรุงเทพมหานครหรือในเขตเมือง ทั้งนี้ ปัจจัยทางจิตสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการมีความสามารถในการฟื้นพลังของวัยรุ่น การส่งเสริมให้วัยรุ่นมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนและบิดามารดา รวมถึงการปรับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความสามารถในการฟื้นพลังอันเป็นพลังที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตในระยะยาวต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this cross-sectional descriptive study was to study Resilience Quotient and related factors of Sixth year students in secondary schools under the jurisdiction of the OBEC, Bangkok metropolis. Four hundreds fourteen Sixth year students in secondary schools in Bangkok were recruited by a multi-stage random sampling technique. The instruments consisted of five following parts; 1) socio-demographic questionnaire, 2) the Adolescent Life Events Questionnaire: ALEQ, 3) parent-child relationships and peer relationships questionnaire, 4) parenting styles questionnaire, and 5) the Adolescent Resiliency Attitudes Scale: ARAS. Data were analyzed using descriptive statistics, Mann-Whitney U test, Kruskal-Wallis test, Spearman's rank correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The results revealed that most of the Sixth year students in secondary schools (76.1%) had moderate level of Resilience Quotient. There was significant positive association found between Resilience Quotient and the other variables, including parent-child relationships, peer relationships, and authoritative parenting style (p < 0.01), while a significant inverse association between Resilience Quotient and the other factors, including stressful life events, authoritarian parenting style, and permissive parenting style was found (p < 0.01). The results of stepwise multiple regression analysis showed that the significant predictors of Resilience Quotient included peer relationships, stressful life events, parent-child relationships, and authoritarian parenting style with a predictive value of 31.8 percents. This findings may be a promising representative of Resilience Quotient in late adolescent populations, especially, in Bangkok and downtown. In addition, the psychosocial factors were significantly associated with Resilience Quotient in adolescents. Therefore, promoting of interpersonal relationships with friends and family and appropriately using of parenting styles are going to enhance their Resilience Quotient which is substantially important for living in the long term.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1736-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- การทดสอบทางจิตวิทยาen_US
dc.subjectความสามารถในการฟื้นพลังในวัยรุ่นen_US
dc.subjectOffice of the Basic Eduction Commissionen_US
dc.subjectHigh school students -- Psychological testingen_US
dc.subjectResilience (Personality trait) in adolescenceen_US
dc.titleความสามารถในการฟื้นพลังและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeResilience quotient and related factors of sixth year students in secondary schools under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission, Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBuranee.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1736-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Itsariya Parichatikanond.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.