Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62069
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์-
dc.contributor.authorใบตอง รัตนขจิตวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-06-08T10:50:24Z-
dc.date.available2019-06-08T10:50:24Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62069-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีการพิจารณาของศาลในการกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมของไทย จากการศึกษาพบว่า กระบวนการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมมีความล่าช้า และไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากคดีสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับศาสตร์หลายแขนง อาทิเช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น อีกทั้งผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมยังไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอ ทำให้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลไม่สามารถคุ้มครองผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผลจากการวิจัยจึงได้เสนอให้มีการบัญญัติเรื่องของมาตรการชั่วคราวก่อนการพิพากษาเป็นหมวดหนึ่งในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ควรมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับหรืออาจได้รับความเสียหาย สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลได้ก่อนมีการยื่นฟ้องในคดีหลัก และเมื่อหลังจากที่ศาลมีคำสั่งแล้วต้องยื่นฟ้องเป็นคดีหลักต่อศาลภายใน 60 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ซึ่งหากไม่มีการยื่นฟ้องภายในกำหนดถือว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวนั้นเป็นอันสิ้นผลไป ทั้งนี้คำร้องที่ยื่นนั้นจะต้องแสดงพยานหลักฐานที่ให้ศาลเห็นว่าหากไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแล้วจะเกิดความเสียหายอย่างไร ซึ่งเป็นดุลยพินิจศาลที่จะสามารถมีคำสั่งได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อนก็ได้ นอกจากนี้เพื่อความรวดเร็วและเป็นธรรม กฎหมายควรให้ศาลมีอำนาจสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายได้โดยตรง และควรกำหนดกรอบระยะเวลาของศาลในการมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไว้ด้วยเพื่อความรวดเร็ว เมื่อศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาแล้ว หากผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามก็ควรมีการลงโทษปรับต่อผู้ที่ได้รับคำสั่งดังกล่าว และควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThis research has an intention to study the process and procedure of the court in criterion or procedure of injunctive relief before judgment of environmental case which is suitable for trial of Thailand’s environmental case. The study found that judicial proceedings of Thailand’s environmental case is quite slow and not compliance with the real problem. Due to the environmental case has relation to some knowledge such as sciences, social sciences, economics etc. Moreover, person who has duty of proceedings environmental case is still lack of expertise that make the court’s injunctive relief order may not effectively protect people and environment in time. The result of this research has presented the legislation of injunctive relief before judgment as one chapter in the act of environmental case procedure. In brief, the law should be enacted in order to give an opportunity for person who sustain or may sustain from damage to file a request for injunctive relief to the court before institute main case to the court. After the court issued an injunctive relief order, such person shall institute a case to the court within 60 days after the date that the court issued an order. In case of not submitting a case within mentioned date, it shall be deemed that the injunctive relief order is ineffectiveness. Nevertheless, such request shall demonstrate evidence which may give reason to the court that if there is no injunctive relief, the damage may occur. However, it is discretion of the court to issue an order immediately without inquisition. Furthermore, for rapidity and justice, the law should grant authority to the court for issuing injunctive relief order to person who violate the law and shall set the estimated time for the court to issue injunctive relief order. When the court issued injunctive relief order, person who not comply with such order shall be penalty and shall give opportunity for person who expert in environment to collaborate in proceedings of environmental case.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1306-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectคดีและการสู้คดีen_US
dc.subjectกระบวนการทางศาลen_US
dc.subjectความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectEnvironmenten_US
dc.subjectActions and defensesen_US
dc.subjectJudicial processen_US
dc.subjectEnvironmental justiceen_US
dc.titleมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีสิ่งแวดล้อมen_US
dc.title.alternativeInjunctive relief before judgment of environmental casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorEathipol.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1306-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Baitong Rattanakhajitwong.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.