Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/621
Title: การจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทข้ามชาติและบริษัทร่วมลงทุนในประเทศไทย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Environmental management of multinational companies and joint venture companies in Thailand
Authors: อัจฉารา จันทร์ฉาย
อรรณพ ตันละมัย
Email: chandrachai@yahoo.com
fcomatl@acc.chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาพาณิชยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาพาณิชยศาสตร์
Subjects: สถาบันสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย
สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)
สมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
การจัดการสิ่งแวดล้อม
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทข้ามชาติและบริษัทร่วมลงทุนในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ อากาศเสียของโรงงานของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย ศึกษาบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาทัศนคติของผู้บริหารข้ามชาติต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม และแนวทางการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิโดยการออกแบบสอบถาม ทำการสัมภาษณ์ลึก จากการศึกษาจากแบบสอบถามจำนวน 200 บริษัท ได้รับแบบสอบถามคืน 177 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.5 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและยา ยาง ไฟฟ้า สี กระดาษ โลหะ เครื่องปรับอากาศ เคมีและพลาสติก อุตสาหกรรมดังกล่าวมีการวางนโยบายด้านความปลอดภัยด้านคุณภาพ ลดของเสีย ประหยัดพลังงานและการกำจัดของเสีย ส่วนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมีการวางแผน การมอบหมายงาน การติดตามและประเมินสิ่งแวดล้อมตลอดจนมีหน่วยงานที่จัดตั้งเพื่อการจัดสิ่งแวดลัอม ข้อเสนอแนะด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมีความเห็นว่ารัฐบาลควรลดภาษีเครื่องมือ เครื่องจักรที่เกี่ยววกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตก่อให้เกิดดุลยภาพของระบบนิเวศต่าง ๆ ลดความสูญเปล่าของทรัพยากรที่ขาดแคลน และประเทศไทยขาดบุคลากรด้านการจัดการสิ่งแวดลัอม ส่วนที่เห็นดัวยค่อนข้างน้อยได้แก่ กฎระเบียบด้านสิ่งแวดลัอมสูงไป พนักงานส่วนใหญ่มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดลัอม พนักงานของรัฐให้ความช่วยเหลือแนะนำด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมครอบคลุมหน้าที่ทางธุรกิจต่าง ๆ สำหรับการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินการในด้านสินค้า มีคำแนะนำในการใช้ สินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการดูแลรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดการด้านความปลอดภัยในโรงงาน มีการจัดการขยะและของเสียอย่างถูกวิธี การประหยัดน้ำ การผลิตสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ่มค่า มีการใช้หลอดไฟฟ้าและเครื่องจักรประหยัดพลังงาน ประหยัดการใช้พลังงาน การจัดการทรัพยกรมนุษย์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีการตรวจสอบสุขภาพอนามัยพนักงาน การชักชวนให้พนักงานประหยัดน้ำ การรณรงค์ให้พนักงานการใช้วัสดุสิ้นเปลือง ประหยัดไฟฟ้า ส่วนการอบรมพนักงานให้มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมยังน้อยอยู่ และยังขาดแคลนบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การบัญชีและการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม ยังมีการจดบันทึกทางการบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมน้อย มีการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมน้อยและขาดการทำวิจัยและพัฒนาด้านสิ่งแวดลอม การศึกษาเปรียบเทียบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยกับต่างประเทศ พบว่ามาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยต่ำกว่าต่างประเทศ ประสิทธิภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมต่ำกว่า และเทคโนโลยีด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมต่ำกว่าต่างประเทศ ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมควรเป็นความร่วมมือของ 3 ฝ่ายในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ภาครัฐควรมีการวางนโยบายและแผนการปฏิบัติการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม พนักงานของรัฐควรมีการดำเนินการที่มีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ ควรเผยแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่กลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งควรมีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับนักเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัยรวมทั้งการอบรมให้ความรู้แก่ธุรกิจ ส่วนภาคเอกชนควรปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยความสมัครใจ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน สำหรับประชาชนควรมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นผู้บริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ธุรกิจมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
Other Abstract: The purpose of the project was to study the current status of environmental management on water and air of the plants pf multinational companies in Thailand. Also, the project studied the roles pf concerned agencies toward environmental management, the attitudes of management of multinational companies toward environmental management, and the recommendation on the environment management. The research method included survey technique from the secondary and primary data using questionnaire and depth interview. From the 200 companies to which the questionnaires were sent, 177 samples were returned which is accounted 88.5% response rate. Depth interview was conducted on selected companies. The result from the study showed that the companies responded were in the Food, Pharmaceutical, Rubber, Electric, Paint, Paper, Metal, Air-Conditioning, Chemical and Plastics industries. Companies in these industries have set the policy on safety, quality, waste reduction, energy saving and waste disposal. In respect to environmental management, they have made the plan, assignment, monitoring and evaluation of the environment. They set up specific department that was in charge of environmental management. Most of the respondents agreed on the following point; government should reduce taxes on machines and equipments used in environmental managemental; environmental management will develop the quality of life, create the balance of various ecological systems and reduce waste and fully utilized on the scarce resources; and Thailand lacks specialists on environmental management. The attitudes which very few samples agreed upon are: regulations on environment are very stricted, most of the workers are concerned on the environment, and government officials helps giving suggestions on environment. Environmental management covered all functions in business. Environmental marketing included product development and the use of product friendly to environment. Environmental production consisted of many activities : consistent machine maintenance, plant safety, proper solid waste and waste treatment, water saving, production of product friendly to the environment, the economical use of resources, the use of energy saving light bulb and machine, and fuel utilization saving. The activities related to environmental human resource management included health check-up for workers, the water saving campaign, the office supply saving campaign and electric saving. Few companies had training for workers to be concerned on the environment. There was a lack of specialist on the environment and there was no cooperation among workers on environmental management. There were very few recording on environmental accounting. There was very little investment on environment and there was no research and development on environment. Comparing on the environmental management between multinational companies in Thailand and in other countries , it was found that the standard, the efficiency and the technology on environmental management of these multinational companies were lower than those of the parent companies. It is recommended that the development on environment should be the cooperation among government, business, and people. The government should made the clearcut policy and operations. The government official must work efficiently with fairness, information on environment should be spreaded out to various groups . There should be the environmental curriculum educated to students from primary level to university level and the training for business executives. People should cooperate voluntarily on environmental management, participated in sustainable development, be conscious on environment, be the consumer that concern on environment. Hopefully, these activities will stimulate business to have better environmental management.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/621
Type: Technical Report
Appears in Collections:Acctn - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_jointventure.pdf15.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.