Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6233
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา บวรกิติวงศ์ | - |
dc.contributor.author | เฉลิมเกียรติ กฤษณะจันทร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-03-13T01:38:30Z | - |
dc.date.available | 2008-03-13T01:38:30Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9745323225 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6233 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | ศึกษา 1) เปรียบเทียบกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติและโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) ความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มคุณภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น วิธีวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนการการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ครูหมวดคณิตศาสตร์จำนวน 25 คนและนักเรียนจำนวน 202 คน ขั้นตอนที่สองเป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพครูกรณีศึกษา 6 คน และนักเรียนกรณีศึกษา 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เปรียบเทียบ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ (MANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับพฤติกรรมการสอนของครูระหว่างโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบปกติกับโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า พฤติกรรมก่อนการสอน และระหว่างสอนของครูทั้งสองโรงเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพฤติกรรมหลังการสอนของครูทั้งสองโรงเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2. ระดับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนระหว่างโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบปกติกับโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษพบว่า พฤติกรรมก่อนการเรียน พฤติกรรมระหว่างเรียน พฤติกรรมหลังเรียน การใช้เวลาว่างของนักเรียน และการได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางที่เพิ่มคุณภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของครูมีดังนี้ 1) การสอนโดยใช้กิจกรรมที่มีความหลากหลาย 2) การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเตรียมข้อมูลที่จะจัดกิจกรรม 3) การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การสอนแบบโครงงาน เป็นต้น 4. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของครูมีดังนี้ 1) ควรมีการพัฒนาครูผู้สอนโดยการจัดอบรมอย่างสม่ำเสมอ 2) ควรจัดให้มีการศึกษาดูงานในประเทศที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูง 3) ควรให้ครูมีจำนวนชั่วโมงสอนในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป เพื่อจะได้มีเวลาในการเตรียมการสอนมากขึ้น 4) ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการจัดซื้อสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย 5) ควรสนับสนุนให้ครูได้ผลิตสื่อการเรียนการสอน 5. แนวทางการเพิ่มคุณภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนมีดังนี้ 1) กิจกรรมควรสามารถนำไปประยุกต์ใช้หรือสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน 2) กิจกรรมควรมีความหลากหลายรูปแบบ 3) ครูควรศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลก่อน จะทำให้กิจกรรมนั้นดำเนินไปได้ด้วยดี 6. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีดังนี้ 1) การจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงเช้า จะทำให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น 2) ครูควรมีจิตวิทยาในการสอนเพื่อลดความตรึงเครียดที่เกิดจากการเรียน เช่น การเล่าเรื่องที่มีความสนุกสนานสอดแทรกระหว่างการสอน 3) ควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีความทันสมัย จะสามารถทำให้นักเรียนมีความสนใจและเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | To 1) compare a mathermatics instructional management process in upper secondary schools between a regular curriculum school and a school of mathematics science and technology gifted students. 2) survey a teachers and students's opinion for the ways to improve a mathematics activities. A mixed method of quantitative and qualitative was employed. There were two steps in the data collection process. The first step was survey of 25 teachers and 202 students, and the second step was a study of 6 cases of teacher and 5 cases of students. Data were analyzed through use of descriptive statistics, percent, mean, SD, and MANOVA. The research results were as follows 1. A leel of mathematics instructional management process of teacher in a regular curriculum school and a school of mathematics science and technology gifted students, behavior before and between the teaching were not significanty different at .05 level, but behavior after teaching were significantly different at .05 level. 2. A level of learning behaviorand the supporting of student's parrents in a regular curriculum school and a school of mathmatics science and technology gifted students, were significantly different at .05 level. 3. The teachers' s opinion for the ways to improve a mathematics activities were 1) activities should be varied. 2) students should be co-operated in the preparation of an information. 3) activities should be focused in the child center method. 4. The teachers's opinion for the ways to improve a mathematics instructional management process were 1) teacher should be trained. 2) teacher should be studied according to successful of any countries that achieve into the mathematics field. 3) should be managed the time schedule into the suitable qantity. 4) director should be provided the budget of purchasing materials. 5) teacher should be supported for produce their material. 5. The student's opinion for the ways to improve a mathematics activities were 1) Activity should be applied in daily routine. 2) Activities should be varied. 3) teacher should be observed on each individual students. 6. The students's opinion for the ways to improve a mathematics instructional management process were 1) student should be provided for studying mathematics in the morning. 2) teacher should use psychological method in teaching. 3) should be developt the high technology materials. | en |
dc.format.extent | 2645625 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1363 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en |
dc.subject | วิจัย | en |
dc.subject | วิจัยเชิงคุณภาพ | en |
dc.title | การเปรียบเทียบกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : การวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ | en |
dc.title.alternative | A comparison of mathematics instructional management processes in upper secondary schools : quanlitative and quantitative analyses | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Suchada.b@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.1363 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chaleomkiat.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.