Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62360
Title: พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้ง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Exposure to election information of the people in Bangkok constituency
Authors: วราณี ลิสุวรรณ์กุล
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พฤติกรรมข่าวสาร
การเลือกตั้ง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สื่อมวลชนกับการเมือง
Elections -- Thailand -- Bangkok
Information behavior
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทั่วไป (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งจากสื่อมวลชน กับระดับความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 390 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่ออธิบายข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่างและทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้ง และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งจากสื่อมวลชน กับความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มอายุ 26-30 ปี และ 31-40 ปี เปิดรับข่าวสารมาก และกลุ่มอายุ 18-25 ปี เปิดรับข่าวสารน้อย 2. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งทางสื่อโทรทัศน์มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ต่ำมาก (r = 0.11)
Other Abstract: The main purpose of this research is to investigate level of exposure to election information of the people in Bangkok ; to identify correlation between demographic profile and people’s exposure to general information ; and exposure to election information ; and to study the correlation between the exposure to election information and knowledge of the election. A sample size of 390 Bangkok residents aged 18 years and over were interviewed. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, t-test, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and ANOVA through SPSS’ Fw. The results of this study indicated that : 1. The people in Bangkok with different ages were different from one of another in terms of their frequencies and time spent on their exposure to election information. 2. A significant positive correlation was found between the exposure to election information from television and level of knowledge.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62360
ISBN: 9746368028
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varanee_li_front_p.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Varanee_li_ch1_p.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Varanee_li_ch2_p.pdf8.14 MBAdobe PDFView/Open
Varanee_li_ch3_p.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Varanee_li_ch4_p.pdf10.88 MBAdobe PDFView/Open
Varanee_li_ch5_p.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Varanee_li_back_p.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.