Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62486
Title: | การเปรียบเทียบสมรรถนะของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ แบบแพ็กเบดชนิดโคเคอร์เรนต์ และชนิดเคาน์เตอร์เคอร์เรนต์รีเจนเนอเรชัน ในระดับโรงงานต้นแบบ |
Other Titles: | Performance comparison of packed-bed co-current and counter-current regeneration demineralization |
Authors: | วุฒิพงศ์ พงศ์จตุรวิทย์ |
Advisors: | วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การแลกเปลี่ยนไอออน น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ การดูดซึม Ion exchange Water -- Purification Absorption |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การเปรียบเทียบสมรรถนะระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์แบบแพ็กเบดชนิดโคเคอร์เรนต์และชนิดเคาน์เตอร์เคอร์เรนต์รีเจนเนอเรชัน เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความสามารถผลิตน้ำบริสุทธิ์ของทั้งสองชนิดในเงื่อนไขที่เหมือนกัน ระบบที่ใช้ทดลองประกอบด้วยหอเรซินประจุบวกและหอเรซินประจุบต่อกันในลักษณะอนุกรมเหมือนกันทั้งสอบระบบ การทดลองกระทำที่อัตราการจ่ายน้ำ 100 ถึง 300 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งในกรณีเรซิน ประจุบวกเทียบเท่ากับความเร็วเชิงเส้น 13.67 ถึง 41.02 เมตรต่อชั่วโมง และในกรณีเรซินประจุลบเทียบเท่ากับความเร็วเชิงเส้น 6.45 ถึง 19.35 เมตรต่อชั่วโมง ผลการวิจัยทดลอง พบว่า ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ชนิดเคาน์เตอร์เรนต์รีเจนเนอเรชัน มีสมรรถนะบางอย่างที่เหนือกว่าชนิดโคเคอร์เรนต์รีเจนเนอเรชัน แต่มีบางอย่างที่ไม่เห็นความแตกต่างชัดเจน ในแง่ความสามารถผลิตน้ำต่อรอบการทำงาน ในกรณีเรซินประจุบวก พบว่า ระบบเคาน์เตอร์เคอร์เรนต์รีเจนเนอเรชันดีกว่า 5.77 - 7.69 % แต่ในกรณีเรซินประจุลบไม่เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน ในทำนองเดียวกันในแง่ประสิทธิภาพการล้างสารแลกเปลี่ยนและความสิ้นเปลืองสารเคมีที่ใช้ล้างสารแลกเปลี่ยนในกรณีเรซินประจุบวก พบว่า ระบบเคาน์เตอร์เคอร์เรนต์รีเจนเนอเรชันก็ดีกว่า ส่วนในกรณีเรซินประจุลบก็ไม่เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน ในแง่ของคุณภาพน้ำขาออกจากระบบ พบว่า ระบบเคาน์เตอร์เรนต์รีเจนเนอเรชันดีกว่าเช่นกัน ในแง่ของการรั่วไหลออกของไอออน ในกรณีของเรซินประจุบวก พบว่า ระบบเคาน์เตอร์เคอร์เรนต์รีเจนเนอเรชันมีการรั่วไหลออกของไอออนน้อยกว่า ส่วนในกรณีเรซินประจุลบไม่เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน ในแง่ของปริมาณน้ำเสียที่เกิดจาการล้างสารแลกเปลี่ยน ที่ระดับรีเจนเนอเรชันเท่ากัน ไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างระบบทั้งสองชนิด แต่หากเปรียบเทียบที่ปริมาณการผลิตน้ำที่เท่ากันแล้ว ระบบเคาน์เตอร์เคอร์เรนต์รีเจนเนอเรชันจะมีปริมาณน้ำเสียน้อยกว่า อนึ่งในแง่ความดันลดนั้นไม่เห็นความแตกต่างที่ขัดเจนระหว่างระบบทั้งสอง นอกจากนั้นได้พิจารณาความเหมาะสมของสมการคำนวณออกแบบที่เสนอไว้ใน Engineering Bulletin และ Data Sheet ของบริษัทผู้ผลิตเรซินปรากฎว่า มีความเหมาะสมในการใช้ออกแบบระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ โดยที่ผลการทดลองให้ค่าสอดคล้องกับการคำนวณ |
Other Abstract: | Performance comparison between packed-bed co-current and counter-current regeneration demineralization systems is a study to compare the efficiency and capacity of the two demineralization systems under the same operating conditions. Each experimental unit consists of a cation and an anion resin column connected in series. Experiments were conducted with water flow rate from 100 to 300 litres per hour. Which is equivalent to 13.67 to 41.02 m/hr and 6.45 to 19.35 m/hr linear velocity in the case of cation and anion resin, respectively. The experimented results obtained with the counter-current regeneration demineralization system showed superior performance in some aspects to the co-current regeneration system but no clear differences in other aspects. With respect to the cycle capacity, the results show that the counter-current regeneration system achieved 5.77-7.69% higher capacity than the other system in the case of cation resin. However, for anion resin there is no explicit difference in capacity. Similarly, in terms of regeneration efficiency and regenerant dosage the counter-current regeneration system was superior in the case of cation resin but no clear difference in the case of anion resin. With respect to product water quality, the counter-current regeneration system was again superior. As regards ionic leakage, the counter-current regeneration system was again superior. As regards ionic leakage, the counter-current regeneration system allowed less sodium leakage in the case of cation resin but there was no clear difference in the case of anion resin. Regarding the amount of regenerant waste, there was no clear difference between the two systems when the same regeneration level was used. Conversely, if comparison is made on the basis of equal cycle capacity, the counter-current regeneration system would generate less regenerant waste, By the way, no clear difference in the measured pressure drop was found between the two systems. In addition, the applicability of the design equations presented in the Engineering Bulletin and Data Sheets provided by the resin manufacturer was considered. Since the calculations agree with the experimented results, the appropriateness of the equations were confirmed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62486 |
ISBN: | 9746354388 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wuthipong_po_front_p.pdf | 9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wuthipong_po_ch1_p.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wuthipong_po_ch2_p.pdf | 15.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wuthipong_po_ch3_p.pdf | 7.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wuthipong_po_ch4_p.pdf | 7.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wuthipong_po_ch5_p.pdf | 24.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wuthipong_po_ch6_p.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wuthipong_po_back_p.pdf | 22.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.